วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



รายนามประธานาิบดีฝรั่งเศส


ลำดับรายนามพรรคการเมืองวาระ
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 (1848 - 1852)
1หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตโบนาปาร์ตนิยม1848 - 1852
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (1870 - 1940)
2อาดอลฟ์ ตีแยร์ออร์เลอ็องนิยม1871 - 1873
3ปาทริส เดอ มัก-มาองนิยมกษัตริย์1873 - 1879
4ฌูล เกรวีสาธารณรัฐ-กลาง1879 - 1887
5ซาดี การ์โนสาธารณรัฐ-ซ้าย1887 - 1894
6ฌ็อง กาซีมีร์-แปรีเยกลาง1894 - 1895
7เฟลิกซ์ โฟร์กลาง1895 - 1899
8เอมีล ลูแบARD1899 - 1906
9อาร์ม็อง ฟาลีแยร์ARD - PRD1906 - 1913
10แรมง ปวงกาเรPRD - ARD1913 - 1920
11ปอล เดชาแนลARD - PRDS1920
12อาเล็กซ็องดร์ มีลร็องอิสระ1920 - 1924
13กัสตง ดูแมร์กราดีกาล1924 - 1931
14ปอล ดูเมราดีกาล1931 - 1932
15อาลแบร์ เลอเบริงAD1932 - 1940
ฝรั่งเศสเขตวีชี (1940 - 1944)
คณะรัฐบาลเฉพาะกาลฯ (1944 - 1947)
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 (1947 - 1958)
16แว็งซ็อง โอรียอลSFIO1947 - 1954
17เรอเน กอตีCNIP1954 - 1959
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 (1958 - ปัจจุบัน)
18ชาร์ล เดอ โกลUNR - UDR1959 - 1969
19ฌอร์ฌ ปงปีดูUDR1969 - 1974
20วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็งFNRI - UDF1974 - 1981
21ฟร็องซัว มีแตร็องพรรคสังคมนิยม (PS)1981 - 1995
22ฌัก ชีรักRPR - UMP1995 - 2007
23นีกอลา ซาร์กอซีUMP2007 - 2012
24ฟร็องซัว ออล็องด์ พรรคสังคมนิยม (PS)2012 - ปัจจุบัน

 François Gérard Georges Nicolas Hollande

       (12 สิงหาคม ค.ศ. 1954) คือประธานาธิบดีของฝรั่งเศส ออล็องด์ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ด้วยคะแนนเสียงประมาณร้อยละ 51.90[1] เขาเป็นผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดกอแรซในช่วงปี ค.ศ. 1988 – 1993 และ ค.ศ. 1997 ถึงปัจจุบัน เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมในช่วงปี ค.ศ. 1997 – 2008 เป็นประธานสภาเทศบาลกอแรซตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 รวมถึงเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลในช่วงปี ค.ศ. 2001  – 2008 อีกด้วย 
François Hollande (Journées de Nantes 2012).jpg
    

ชีวิตในวัยเด็ก

ออล็องด์เกิดในเมืองรูอ็องในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศสเขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางคาทอลิก แม่ของเขาเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ส่วนพ่อเป็นหมอหู คอ จมูกที่เคยลงสมัครเป็นผู้สมัครฝ่ายขวาจัดในการเมืองท้องถิ่น เชื่อกันว่านามสกุลออล็องด์ของเขามาจากบรรพบุรุษที่หลบหนีมาจากฮอลแลนด์ (เนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน) ในช่วงศตวรรษที่ 16 และนำชื่อประเทศมาเป็นนามสกุล

การศึกษา

ออล็องด์เข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำแซ็งฌ็อง-บาติสต์เดอลาซาล และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการปารีส (HEC Paris), วิทยาลัยการบริหารแห่งชาติ (École nationale d'administration) และสถาบันรัฐศึกษาปารีส (Institut d'Etudes Politiques de Paris) ออล็องด์เคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เข้าทำงานในศาลตรวจสอบบัญชีแห่งฝรั่งเศสทันทีหลังจากจบการศึกษา
เส้นทางการเมืองช่วงต้น
ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ออล็องด์เป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสของฟร็องซัว มีแตร็อง ในอีก 5 ปีต่อมา ออล็องด์ได้เข้าร่วมกับพรรคสังคมนิยมและถูกจับตามองอย่างรวดเร็วจากฌัก อาตาลีผู้เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของมีแตร็อง ในปี ค.ศ. 1981 อาตาลีได้ให้ออล็องด์ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดกอแรซแข่งขันกับประธานาธิบดีของฝรั่งเศสในอนาคต ฌัก ชีรัก ออล็องด์แพ้การเลือกตั้งแก่ชีรัก เขาก้าวต่อไปโดยไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษแก่ประธานาธิบดีคนใหม่ ฟร็องซัว มีแตร็อง หลังจากนั้นไปเป็นคณะทำงานให้กับโฆษกรัฐบาล หลังจากที่ออล็องด์ได้เป็นสมาชิกเทศบาล Ussel ในปี ค.ศ. 1983 ออล็องด์ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซอีกครั้ง ในครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จได้เข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่ในปี ค.ศ. 1993 ออล็องด์ได้สูญเสียตำแหน่งผู้แทนราษฎรไปอีกครั้งในการเลือกตั้งที่ถูกเรียกว่า คลื่นสีฟ้า อันเนื่องมาจากการสูญเสียที่นั่งในสภาของพรรคสังคมนิยมให้แก่ฝ่ายขวาเป็นจำนวนมาก

เลขาธิการพรรคสังคมนิยม

ออล็องด์และภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ในการหาเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 2007
ในช่วงใกล้สิ้นสุดวาระของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง พรรคสังคมนิยมเกิดความแตกแยกภายในขึ้นเนื่องจากต่างฝ่ายต่างแย่งกันเป็นผู้กำหนดทิศทางของพรรค ออล็องด์ได้ออกมาเรียกร้องความปรองดองและให้พรรครวมตัวเป็นหนึ่งภายใต้ ฌัก เดอลอร์ ประธานสหภาพยุโรป แต่เดอลอร์ปฏิเสธที่จะเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครเป็นประธานาธิบดี ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็ง กลับมาเป็นผู้นำพรรคอีกครั้ง ฌ็อสแป็งเลือกออล็องด์ให้เป็นโฆษกพรรคอย่างเป็นทางการ ต่อมาในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรปี ค.ศ. 1997 ออล็องด์กลับไปลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ อีกครั้งและประสบความสำเร็จในการกลับเข้าสภา ในปีเดียวกันนั้นเอง ฌ็อสแป็งได้เป็นนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส และออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคสังคมนิยมซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่ 11 ปี โดยในช่วงระยะเวลานี้ พรรคสังคมนิยมมีตำแหน่งที่แข็งแรงในรัฐบาลฝรั่งเศส ตำแหน่งเลขาธิการพรรคของออล็องด์จึงถูกเรียกในบางครั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 2001 ออล็องด์ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองตูลซึ่งเขามีวาระการดำรงตำแหน่งนี้ 7 ปี
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2002 รอบแรก พรรคสังคมนิยมพ่ายแพ้แก่ผู้สมัครฝ่ายขวาจัด ฌ็อง-มารี เลอ แปน อย่างน่าตกตะลึง ทำให้ลียอแนล ฌ็อสแป็งตัดสินใจลาออก การลาออกทำให้ออล็องด์กลายเป็นเสมือนผู้นำของพรรคในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค.ศ. 2002 ออล็องด์สามารถจำกัดความพ่ายแพ้ไว้ได้บางส่วนโดยเขายังถูกเลือกกลับมาเป็นผู้แทนราษฎรได้ในเขตของตน แต่ผู้สมัครคนอื่น ๆ ของพรรคพ่ายแพ้ไปทั่วประเทศ ก่อนการประชุมใหญ่ประจำปี ค.ศ. 2003 ของพรรคที่จัดขึ้นในเมืองดีฌง ออล็องด์สามารถทำให้ผู้มีชื่อเสียงในพรรคหลายคนหันมาสนับสนุนตนได้ เขาจึงถูกเลือกกลับมาเป็นเลขาธิการพรรคอีกครั้ง แม้ว่าจะถูกฝ่ายซ้ายในพรรคต่อต้านก็ตาม หลังการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 2004 ที่ฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะ ออล็องด์ถูกอ้างถึงว่าอาจเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ แต่พรรคสังคมนิยมในช่วงนั้นถูกแบ่งเป็นสองส่วนในความเห็นเรื่องการจัดตั้งธรรมนูญยุโรป ออล็องด์ซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งธรรมนูญจึงก่อให้เกิดความแตกร้าวภายในพรรค ในปี ค.ศ. 2005 เขายังคงรักษาตำแหน่งเลขาธิการพรรคไว้ได้ในการประชุมใหญ่ของพรรค แต่อำนาจของเขาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 2007 ภรรยาของเขา เซกอแลน รัวยาล ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนพรรคลงสมัครชิงตำแหน่งประธานธิบดีฝรั่งเศสซึ่งเธอได้พ่ายแพ้ต่อนีกอลา ซาร์กอซี ในปีเดียวกัน ออล็องด์ถูกตำหนิอย่างหนักเนื่องจากผลอันย่ำแย่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี ค.ศ 2007 เขาจึงประกาศที่จะไม่ลงชิงตำแหน่งเลขาธิการพรรคเมื่อหมดวาระ
หลังจากที่ออล็องด์ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ เขาได้รับเลือกให้แทนที่ฌ็อง-ปีแยร์ ดูว์ปง ในตำแหน่งประธานสภาเทศบาลกอแรซซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 2008 เขาสนับสนุนการให้รางวัลเอเตียน บาลูซ (Étienne Baluze) ซึ่งมอบให้บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยออล็องด์เป็นผู้ให้รางวัลนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 แก่นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เบียทริช ปาลเมโร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น