วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

                  หนังสืออ่านนอกเวลา
 เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาภาษาไทย ให้นักเรียนตั้งแต่ ป.1 - ม.6 อ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและพัฒนาการอ่านของตัวเอง แต่เนื้อหาจะมาเป็นหนังสือเรียนอ่านไปหลับไปก็ไม่ใช่เรื่อง ดังนั้นหนังสืออ่านนอกเวลาส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเรื่องสั้น นวนิยาย ที่อ่านสนุก ให้แง่คิดและเนื้อหาดี ซึ่งหลายๆ คนจะชอบมาก ส่วนตัวพี่มิ้นท์เองก็ชอบมากๆ เช่นกัน และมีหนังสือในดวงใจหลายเล่ม โดยเฉพาะ "แมงมุมเพื่อนรัก" \0/


เล่มแรก : แมงมุมเพื่อนรัก (อี.บี.ไวท์)
เด็กดีดอทคอม :: "หนังสืออ่านนอกเวลา" ในตำนานที่เด็กไทยต้องรู้จัก??
             น่าจะเป็นหนังสือเรื่องแรกที่อ่านแล้ววางไม่ลงแถมยังทำให้น้ำตาซึมๆ เกือบทุกตอนเลย ตัวละครหลักในเรื่องคือ แมงมุม(ชาร์ล็อต) สัตว์ที่มีหน้าตาน่าเกลียดแต่จิตใจดี และหมู(วิลเบอร์) สัตว์ผู้โชคร้าย เกิดมาก็เกือบถูกฆ่าแถมยังไม่มีเพื่อนอีก ถึงแม้ชาร์ล็อตและวิลเบอร์จะเป็นสัตว์คนละสปีชี่กัน แต่มิตรภาพก็ไม่อาจขวางกั้นได้ จนวันนึงเจ้าหมูวิลเบอร์จะถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารในวันคริสมาต์ ชาร์ล็อตจึงพยายามช่วยเหลือด้วยการพยายามทอใยแมงมุมให้เป็นคำที่มีความหมายต่างๆ เพื่อบ่งบอกว่าเจ้าหมูตัวนี้เป็นหมูพิเศษ จนวิลเบอร์รอดพ้นจากการถูกฆ่า แต่สุดท้ายชาร์ล็อตก้ต้องตายเสียเอง
              แมงมุมเพื่อนรักเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของมัธยมต้น ได้รับการแปลถึง 23 ภาษา และยังเป็นหนังสือที่มียอดตีพิมพ์สูงมากก ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าหนังสือเล่มนี้มีหน้าปกหลายแบบ นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องจากนิตยสาร TIME ว่าเป็นหนังสือเด็กที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษอีกด้วย



เล่มที่สอง : นิกกับพิม (ว.ณประมวญมารค)
เด็กดีดอทคอม :: "หนังสืออ่านนอกเวลา" ในตำนานที่เด็กไทยต้องรู้จัก??
             เป็นนวนิยายที่น่ารักน่าชังอีกเรื่องนึงเลยค่ะน้องๆ โดยนิกกับพิมเป็นชื่อของสุนัข นิกเป็นสุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ เพศผู้ เจ้าของคือพิเชฐ ส่วนพิมเป็นสุนัข พันธุ์พุดเดิ้ล เพศผู้เช่นกัน เจ้าของเป็นหญิงสาวงามชื่อมนทิรา ทั้งสองพบกันที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พิเชฐตกหลุมรักมนทิราตั้งแต่แรกเห็น จึงพยายามทำความรู้จักกัน จนกระทั่งพิเชฐต้องกลับเมืองไทยเพราะเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เขาผิดหวัง โดยได้เอานิกกลับไปด้วย แต่ทั้งคู่ไม่ได้ร่ำลากัน ต่อมาทั้งคู่ติดต่อกันได้อีกครั้ง ผ่านจดหมายไปมาข้ามประเทศ แต่ความน่ารักอยู่ที่ตัวละครได้ถ่ายทอดเรื่องราวโดยใช้นิกกับพิมเป็นตัวเล่าเรื่องแทน ซึ่งขอบอกว่าจดหมายแต่ละฉบับที่่ส่งถึงกันทั้งน่ารัก น่าติดตาม และมีมุขสอดแทรกให้ขำทั้งเรื่องเลยล่ะค่ะ
            นอกจากการลุ้นไปกับความรักของพิเชฐกับมนทิราแล้ว น้องๆ จะได้เห็นมุมมองของผู้เขียนที่พยายามมองคนในมุมมองของสุนัข ซึ่งบางทีอ่านๆ ไปก็จะรู้สึกว่า เฮ้ย! คนเป็นแบบนี้จริงๆ ด้วย นอกจากนี้ก็ยังได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุนัขอีกด้วย



เล่มที่สาม : อยู่กับก๋ง(หยก บูรพา)
เด็กดีดอทคอม :: "หนังสืออ่านนอกเวลา" ในตำนานที่เด็กไทยต้องรู้จัก??
            อยู่กับก๋งเป็นนวนิยายที่เคยหยิบมาทำเป็นละครแล้วด้วยนะคะน้องๆ แต่ถ้าใครเคยดูแล้วก็แนะนำให้อ่านตัวหนังสือด้วย เพราะจะให้ความรู้สึกกันคนละแบบค่ะ
            อยู่กับก๋งเป็นนวนิยายที่แต่งจากเรื่องจริงสะท้อนเรื่องราวของคนจีนที่มาอยู่ในประเทศไทย และมีหยกเป็นตัวละครวัยสิบสามปี ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าที่ก๋งอุปการะไว้ ทั้งคู่อาศัยอยู่ในห้องแถวเล็กๆ มีฐานะยากจน อาชีพหลักของก๋งคือช่างฝีมือ ส่วนหยกนั้นก็จะรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีโอกาส
            หยกเคยสงสัยว่าทำไมตัวเองถึงไม่มีพ่อแม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ ก๋งได้แต่ตอบว่าเดี๋ยวโตขึ้นจะเล่าให้ฟัง แต่หยกยังเฝ้าถามเรื่อยๆ จนก๋งต้องย้อนถามกลับไปว่า ทำไมต้องถามถึงพ่อกับแม่ อยู่กับก๋งไม่มีความสุขหรือ? หลังจากนั้นหยกก็ได้พบเด็กกำพร้าที่ถูกทิ้งไว้ จึงเข้าใจว่ายังมีเด็กโชคร้ายอีกมากและตัวเขาเองมีก๋งให้ความรักอยู่ทุกวันนี้ก็ดีที่สุดแล้ว
             หนังสือเล่มนี้ยังได้สะท้อนค่านิยมและความเชื่อของคนจีนไว้ด้วย รวมถึงแง่คิดที่เป็นประโยชน์ในชีวิต เช่น ความพยายาม ความอดทน การปรับตัว การเป็นคนดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นหนทางที่ทำให้เรามีความสุขและความสำเร็จ นับว่าเป็นนวนิยายที่ให้แง่คิดได้ดีทีเดียวค่ะ



เล่มที่สี่ : ความสุขของกะทิ(งามพรรณ เวชชาชีวะ)
เด็กดีดอทคอม :: "หนังสืออ่านนอกเวลา" ในตำนานที่เด็กไทยต้องรู้จัก??
             นวนิยายน้ำดี ที่ได้รางวัลซีไรต์เมื่อปี 2549 เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่หลายโรงเรียนให้อ่านในช่วงหลังๆ หลายคนก็น่าจะมีโอกาสได้อ่านกันไปบ้างแล้วใช่มั้ยคะ :D
             ความสุขของกะทิ เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงกะทิ วัย 9 ขวบที่มาอาศัยอยู่กับตาและยายในบ้านริมคลอง กะทิได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่นจากคนที่อยู่รอบตัว โดยที่กะทิเองไม่เคยรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพ่อแม่เลย จนกระทั่งวันนึง กะทิต้องพบความจริงว่าแม่ของตัวเองเป็นโรคร้ายแรงและกำลังจะจากไป แม้ว่ากะทิจะต้องเศร้าเสียใจแค่ไหน แต่คนรอบข้างของกะทิก็ยังให้ความรักและเอาใจใส่เป็นอย่างดี จนกะทิเข้มแข็งและกลับมามีความสุขอีกครั้ง
               นวนิยายเรื่องนี้ทำให้น้องๆ เห็นมุมมองของเด็กตัวเล็กๆ คนนึงที่ต้องเจอกับเรื่องร้ายๆ แต่ความอบอุ่นของครอบครัวที่เรารักก็เป็นยาที่ดีที่สุดที่จะทำให้จิตใจเรากลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง อ่านไปก็เตรียมพกทิชชู่ไว้ข้างๆ ได้เลยค่ะน้องๆ



เล่มที่ห้า : เรื่องของน้ำพุ (สุวรรณี สุคนธา)
เด็กดีดอทคอม :: "หนังสืออ่านนอกเวลา" ในตำนานที่เด็กไทยต้องรู้จัก??
             เรื่องของน้ำพุ เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวจากชีวิตจริงของครอบครัว สุวรรณี สุคนธา โดยน้ำพุเป็นชื่อของลูกชายวัยรุ่นซึ่งติดยาเสพติดและพยายามจะเลิกด้วยการไปเลิกยาที่ถ้ำกระบอก
             ครอบครัวของน้ำพุแตกแยก พ่อกับแม่ทะเลาะกันจนถึงขั้นแยกทางกัน น้ำพุเริ่มลองยาเสพติดระหว่างปีสุดท้ายของการเรียน ยิ่งเมื่อแม่มีสามีคนใหม่ เขาจึงรู้สึกแปลกแยกจากกครอบครัว จึงติดยาหนักขึ้นและใช้ยาแรงขึ้นจนกระทั่งถึงเฮโรอีน ภายหลังได้สารภาพว่าติดจึงไปเลิกยา แต่เมื่อเขากลับมา กลับไม่ได้รับการต้อนรับอย่างที่หวัง จึงกลับไปหายาเสพติดอีกครั้ง และก็ถึงคราวที่น้ำพุต้องถึงจนจบเพราะยาเสพติดจริงๆ
            เรื่องนี้ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของวัยรุ่นที่เกิดจากปัญหาครอบครัว ซึ่งผู้เขียนก็ได้พยายามถ่ายทอดชีวิตจริงให้ออกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจ เป็นอีกเรื่องที่พี่มิ้นท์อยากให้น้องๆ อ่านเช่นกันค่ะ

                 

     รางวัลซีไรต์ 
ซีไรต์ หรือชื่อเดิมในภาษาไทยคือ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง
อาเซียน(S.E.A.WRITE AWARD) ซึ่งย่อมาจากคำว่า The South East Writer Award เส้นทางซีไรต์ จุดเริ่มต้นของรางวัลซีไรต์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จัดโดยโรงแรมโอเรียลเต็ล การบินไทย และบริษัทในเครืออิตัลไทยโดยมีศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็น
ประธาน และได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและ หนังสือ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

                    1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศ
อาเซียน
                    2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่ง
กลุ่ม ประเทศอาเซียน
                    3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะทางวรรณกรรมของนัก
เขียนผู้ สร้างสรรค์
                    4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไป
ในกลุ่มประ เทศอาเซียน

                    ประเทศที่เข้าร่วมตอนแรกมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ และไทย จนกระทั้ง พ.ศ.2529 เพิ่มประเทศบรูไนเข้ามาเป็น 6 ประเทศ
จากนั้นในปี 2539 ประเทศเวียดนามก็เข้าร่วม รวมเป็น 7 ประเทศ จนมาถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ "20 ปีซีไรต์"ผู้จัดได้เชิญพม่าและลาวเข้าร่วมด้วย จึงครบทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
(ขณะนั้น)ต่อมาปี 2542หลังจากประเทศกัมพูชาได้รับการรับรองเข้า เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ
อาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วม ด้วยก็เป็นอันว่าซีไรต์ปีนี้มี
ครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2522 ศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่าน
สิ้นชีพตักษัย ในปี 2524 หม่อนเจ้างามจิตร บุรฉัตรผู้เป็นชายา ได้ ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน
จนถึงอนิจกรรม ในปี 2526 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระกนิษฐาพระองค์เจ้าเปรม
บุรฉัตร ทรงรับเป็นองค์ประธานสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2534 
             พ.ศ. 2535 - 2540 ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธาน จากนั้นในปี 2541 ม.ล.
พีระพงศ์ เกษมศรี เข้ารับช่วงเพียงปีเดียวก็ลาออก และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้ารับตำแหน่งแทนในที่สุดรางวัลวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของผู้เขียนได้จัดส่งเข้าร่วม
ประกวดรางวัลซีไรต์ โดยมีคณะกรรมการในการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยผู้แทนจาก
สมาคมภาษาและหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยฯ ผู้แทนจากสมาคมนักเขียนฯ และผู้ทรงคุณ
วุฒิทางวรรณกรรม โดยมีกติกาดังนี้ คือ

                1. ต้องเป็นงานที่ริเริ่มของผู้เขียนเอง ไม่ใช่แปลมาจากผู้อื่น
                2. ต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชาติหรือภูมิภาคที่ผู้สร้างสรรค์มีภูมิลำเนา
                3. ต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้อันหมายถึง นวนิยาย
บทละคร และกวีนิพนธ์
                4. ต้องเป็นงานที่ดีพร้อมในช่วงเวลา 5 ปี นับจากที่ทางการเลือกสรรเป็นเกณฑ์
                5. ผลงานเคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
                6. ผลงานจะเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
                7. ผู้สร้างสรรค์มีส่วนช่วยหรือช่วยพัฒนาวัฒธรรมและวรรณกรรมของประเทศตน
จากงานเขียน ของตน
                8. ผู้สร้างสรรค์จะมีเชื้อชาติศาสนา เพศใด ๆ ก็ได้ และยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงาน
เข้าประกวด 




ตะวันออกกลาง


            ใครๆ หลายคนมักสงสัยว่า ตะวันออกกลาง คือที่ไหน อยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก ทำไมเราถึงได้ยินชื่อนี้ในข่าวทางโทรทัศน์หรือหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ  และมีความสำคัญอย่างไร แล้วทำไมถึงเรียกว่า ตะวันออกกลาง
            ตะวันออกกลาง คือ ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขว้างตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกา ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน หรือที่เรียกว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) และบริเวณคาบสมุทรอาระเบีย รวมถึงดินแดนรอบอ่าวเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามเรื่องอาณาเขตที่แน่นอน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบัน
            ภูมิภาคนี้เดิมถูกเรียกว่า ตะวันออกใกล้  หรือ Near East จากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนแรกที่พบก่อนในการเดินทางไปยังตะวันออก 
            ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกว่า ตะวันออกกลาง หรือ Middle East เป็นครั้งแรกโดยนักยุทธศาสตร์ทหารเรือชาวอเมริกัน ชื่อ Captain Alfred Thayer Mahan ซึ่งเขียนลงในบทความ The Persian Gulf and International Relations โดยMahan มองว่าการเรียกดินแดนนี้ว่า Near East ไม่ครบถ้วนเพราะไม่ครอบคลุมดินแดนทั้งหมดและยังเป็นมุมมองที่ยึดติดกับความเป็นยุโรปและประเทศตะวันตก (Eurocentric) มากเกินไป การใช้คำว่า Middle East มีความเหมาะสมมากกว่า ประกอบกับเป็นดินแดนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสองอารยธรรมและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสามทวีปอีกด้วย
            ความสำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นมีอยู่หลายมิติ ในด้านการเมือง ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็นที่ต้องการของจักรวรรดิและมหาอำนาจ และยังเป็นทั้งชนวนและสนามรบของสงครามและความขัดแย้งที่สำคัญหลายครั้ง เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 และ 2 และความขัดแย้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ยังยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน
            ในมิติด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคตะวันออกกลางมีความโดดเด่นทั้งที่ตั้งที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญในการเดินทางติดต่อค้าขายระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และที่สำคัญเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า คือ น้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นและสำคัญในระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
            ในมิติด้านสังคม ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สำคัญ คือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส หรืออารยธรรมเมโสโปเตเมีย และยังเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลก คือ ศาสนาคริสต์ อิสลามและยูดาย  นอกจากนี้ชาวตะวันออกกลางส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ หากไม่นับรวมชาวเปอร์เซียจากอิหร่าน ชาวเติร์กจากตุรกีและชาวยิวในอิสราเอล
            กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้โดยตั้งขึ้นเป็นกองตะวันออกกลาง ภายใต้การดูแลของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งแบ่งภูมิภาคตะวันออกกลางโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ผสมกับความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์และประเด็นปัญหาต่างๆ โดยดูแลประเทศ กาตาร์ คูเวต จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ตูนิเซีย บาห์เรน มอริเตเนีย โมร็อกโก เยเมน ลิเบีย เลบานอน อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อียิปต์ แอลจีเรีย โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  และปาเลสไตน์



ความเป็นมาของรางวัลโนเบล (Nobel prize)

อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ชุดดินระเบิด
ที่เรียกว่า ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) หรือระเบิดไดนาไมต์ รู้สึกเสียใจ
ที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1896
เขาระบุในพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้นำไปตั้งมูลนิธิโนเบล เพื่อเป็นการสนับสนุน และมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณ
ประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ โนเบลแสดงเจตนารมณ์ไว้ในพินัยกรรมของเขา
อย่างชัดแจ้งว่า "...It is my express wish that in awarding the prizes no consideration be given to the nationality of the candidates, but that the most worthy shall receive the prize, whether he be Scandinavian or not. ..." ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลนี้ต้องเป็น "บุคคลผู้อำนวยคุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ" โดยไม่จำกัดว่าบุคคลผู้นั้น
จะมีเชื้อชาติไหน พูดภาษาใด
พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยจัดขึ้น
ครั้งแรกหลังจากโนเบลเสียชีวิตไปได้ 5 ปี (ค.ศ. 1901) มี 5 สาขา คือ คือ ฟิสิกส์
(physics) เคมี (chemistry) การแพทย์และสรีรวิทยา (physiology or
medicine) วรรณกรรม (literature) สันติภาพ (peace) และในปี ค.ศ. 1969
จึงเพิ่มรางวัลอีก 1 สาขา คือสาขาเศรษฐศาสตร์ (economic)

ผู้พระราชทานรางวัลโนเบลคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน
แม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะเวลา
ของการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี รางวัลที่มอบให้ประกอบด้วย เหรียญทอง
ที่ด้านหน้าสลักเป็นรูปหน้าของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด
รางวัลโนเบลถือ เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่และทรงเกียรติของชาวโลก ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของสังคมโลก
ภาพ Alfred Nobel จากหนังสือ NOBEL PRIZE 100 ผู้พิชิตรางวัลโนเบล
ผลรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปีนี้ ปรากฏว่า สหภาพยุโรปคว้ารางวัลไปครองผลรางวัลโนเบล ประกาศเมื่อเวลา 16.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยปีนี้สหภาพยุโรป หรืออียู คว้ารางวัล โดยคณะกรรมการโนเบลให้เหตุผลถึงการตัดสินครั้งนี้เป็นเพราะบทบาทการรวมตัวของยุโรป แม้ว่าขณะนี้ยูโรโซนจะเผชิญกับวิกฤตหนี้สินก็ตาม ซึ่งเงินรางวัลที่จะมอบให้กับผู้ที่ได้รางวัลมีมูลค่า 1,200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนพิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้

อียู ก่อตั้งเมื่อปี 1957 ตามสนธิสัญญาโรม เริ่มต้นมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ และขยายมาเป็น 27 ประเทศในปัจจุบัน รวมถึงประเทศในยุโรปตะวันออกที่เข้าร่วมกลุ่มหลังสงครามเย็น

สำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2012 มีทั้งหมด 231 ราย ซึ่งรวมถึง 43 องค์กร