วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


Antoine de Saint-Exupéry



born
June 29, 1900 in Lyon, France

died
July 31, 1944

gender
male

website

genre


About this author

Antoine de Saint-Exupéry was born in Lyons on June 29, 1900. He flew for the first time at the age of twelve, at the Ambérieu airfield, and it was then that he became determined to be a pilot. He kept that ambition even after moving to a school in Switzerland and while spending summer vacations at the family's château at Saint-Maurice-de-Rémens, in eastern France. (The house at Saint-Maurice appears again and again in Saint-Exupéry's writing.)

Later, in Paris, he failed the entrance exams for the French naval academy and, instead, enrolled at the prestigious art school l'Ecole des Beaux-Arts. In 1921 Saint-Exupéry began serving in the military, and was stationed in Strasbourg. There he learned to be a pilot, and his career path was foreve

                                                                    Antoine de Saint-Exupéry

วันนี้เมื่อปีที่แล้ว หากใครได้เปิด Google ของทางฝั่ง USA แล้วละก็ จะเห็นโลโก้พิเศษรูปที่คุ้นตาสุดแสนน่ารัก กับโลโก้ฉลองวันเกิดครบรอบ 110 ปี  Antoine de Saint-Exupéry ผู้เขียนนวนิยายอันโด่งดัง “เจ้าชายน้อย -Le Petit Prince” แต่ในวันนี้ Antoine de Saint-Exupéry ได้มีวันเกิดครบรอบ 111 ปี
Antoine de Saint – Exupéry เป็นที่รู้จักกันดีในวงการนวนิยายสั้น เพราะเขาเป็นผู้แต่งนวนิยาย “เจ้าชายน้อย”  Antoine เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1900 และเสียชีวิตในปี 1944 เขาอยู่ในกองทัพอากาศฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้ง 2 ในปี 1944 และเขาหายสาบสูญไปในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เจ้าชายน้อย หนังสือเล่มเล็กที่แฝงไปด้วยปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ เป็นดังเครื่องบรรเทาความบอบช้ำของผู้ใหญ่คนนี้ และเป็นดังความหวังอันเรืองรองท่ามกลางห้วงมืด แห่งสงครามของผู้คนในเวลานั้น และต่อมาโลกก็ประจักษ์ว่า “เจ้าชายน้อย” เป็นสิ่งที่ “ดีเยี่ยม” อีกสิ่งหนึ่ง ในบรรดาสิ่ง “ดีเยี่ยม” ทั้งหลาย ที่มักผุดโผล่ภายใต้แรงกดดัน เป็นการกำเนิดขึ้นเพื่อจรรโลงโลกให้คืนสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง

                                  Antoine de Saint-Exupéry
 เป็นนักเขียนและนักบินชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1900มีงานเขียนเป็นจำนวนมากในภาษาฝรั่งเศส ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเจ้าชายน้อย อ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรีหายสาบสูญขณะบินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้าแอฟริกาเหนือเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1944
ในปี ค.ศ. 1998 ชาวประมงชื่อ ฌ็อง-โกลด บีย็องโก ชาวฝรั่งเศสได้พบชิ้นส่วนที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสร้อยข้อมือของแซ็งแตกซูว์เปรี ขณะจับปลาอยู่ทางตอนใต้ของเมืองมาร์แซย์ ในปี ค.ศ. 2000 นักประดาน้ำชื่อ ลุก ว็องแรล ได้พบซากของเครื่องบิน P-38 Lightning ซึ่งทางการฝรั่งเศสได้กู้ขึ้นมา และยืนยันว่าเป็นเครื่องบินลำที่แซ็งแตกซูว์เปรีเป็นนักบิน 
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 นักบินขับไล่ชาวเยอรมันชื่อ Horst Rippert วัย 88 ปี ได้ออกมายืนยันว่า เขาเป็นนักบินที่ทำการลาดตระเวนในบริเวณที่พบซากเครื่องของแซ็งแตกซูว์เปรี ในคืนวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 และเป็นผู้ยิงเครื่อง P-38 Lightning ตกในคืนนั้น เขากล่าวว่าเขาเป็นแฟนหนังสือของแซ็งแตกซูว์เปรี และทราบในภายหลังสงครามว่าอาจจะเป็นผู้ยิงเครื่องบินของแซ็งแตกซูว์เปรีตก

            

พี่น้อง Lumiere กับการประดิษฐ์กล้อง Cinematographe


Louis และ Auguste สองพี่น้อง Lumiere ในประเทศฝรั่งเศส ทั้งสองถูกเรียกขานว่าเป็นบิดาแห่งภาพยนตร์ยุคใหม่ พวกเขาทำงานในโรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการถ่ายภาพนิ่งในเมืองลียง(Lyon) ทั้งสองได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานของ เอดิสัน พวกเขาประดิษฐ์เครื่องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายที่รวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน และยังสามารถเคลื่อนย้ายถือหิ้วได้และยังมีน้ำหนักเบา แถมยังฉายให้ผู้ชมดูได้ครั้งละจำนวนมากๆ 



สิ่งที่พวกเขาประดิษฐ์ถูกเรียกว่า Cinematographe และได้รับการจดสิทธิบัตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 1895 การที่อุปกรณ์ของเขาทำได้หลายอย่างนั้น (เป็นทั้งกล้องถ่าย เครื่องฉาย และเครื่องพิมพ์) มีประโยชน์อย่างมากที่ทำให้ผู้ชมมากกว่าหนึ่งคนสามารถรับชมได้พร้อมๆกันในจอใหญ่ได้ โดยพวกเขาใช้ฟิล์ม 35 มม มีความเร็ว 16 เฟรมต่อวินาที ซึ่งเป็นมาตรฐานในช่วงเวลานั้นก่อนการเข้ามาถึงของภาพยนตร์เสียง ซึ่งเข้ามาในช่วงปลายทศวรรษ 1920 ทำให้ 24 เฟรมต่อวินาทีกลายเป็นค่ามาตรฐานของภาพยนตร์เสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



การทดลองพิสูจน์เครื่องฉายและกล้องถ่ายที่เรียกว่า Cinematographe ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 1895 ในห้องใต้ดินของพวกเขา ซึ่งพวกเขามีความตื่นเต้นไปอย่างมากในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องแรก ซึ่งมีชื่อว่า Workers Leaving the Lumiere Factory (La Sortie des Ouviers de L'Usine Lumiere a Lyon) แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องแรกนี้มันจะประกอบไปด้วยภาพภายนอกของโรงงานเท่านั้น ซึ่งมีคนงานกำลังออกมาทางประตูจากโรงงานLumiereเอง เพื่อแยกย้ายกลับบ้านในเวลาเลิกงาน



ด้วยการรับรู้ของคนทั่วไป ภาพยนตร์(Cinema ถูกดัดแปลงมาจากคำว่า Cinematographe ) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยพี่น้อง Lumiere ได้จัดฉายภาพยนตร์ขึ้นเพื่อการค้า(เก็บค่าเข้าชม)ต่อหน้าสาธารณชนในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกของโลกขึ้นที่ Grand Cafe ในเมืองปารีส และนั่นถือเป็นการกำเนิดภาพยนตร์โดยแท้จริง นับแต่เครื่อง Cinematographe ถูกพัฒนาจนสามารถกลายเป็นเครื่องฉายได้(ไม่ใช่แค่การทดลอง) และสามารถซื้อขายได้เป็นครั้งแรกอีกด้วย



โปรแกรมการฉาย 20 นาทีของพวกเขาในแต่ละวัน ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์สั้น 10 เรื่อง ซึ่งวนฉายเป็นจำนวน 20 ครั้งต่อวัน โดยภาพยนตร์เหล่านั้นจะเป็นข้อเท็จจริงสั้นๆ (สารคดีขนาดเล็ก) ซึ่งเป็นเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน(Home Video) ดังรายชื่อด้านล่างนี้

1. La Sortie des Ouviers de L'Usine Lumière à Lyon (1895) (Workers Leaving the Lumiere Factory) (46 seconds) 



2. La Voltige (1895) (Horse Trick Riders) (46 seconds)



3. La Pêche aux Poissons Rouges (1895) (Fishing for Goldfish) (42 seconds)



4. Le Débarquement du Congrès de Photographie à Lyon (1895) (The Disembarkment of the Congress of Photographers in Lyon) (48 seconds)



5. Les Forgerons (1895) (Blacksmiths) (49 seconds)



6. Le Jardinier (l'Arroseur Arrosé) (The Gardener or The Sprinkler Sprinkled) (1895) (49 seconds)



7. Le Repas (de Bébé) (1895) (Baby's Meal) (41 seconds)



8. Le Saut à la Couverture (1895) (Jumping onto the Blanket) (41 seconds)



9. La Place des Cordeliers à Lyon (1895) (Cordeliers Square in Lyon) (44 seconds)



10. La Mer (Baignade en Mer) (1895) (Bathing in the Sea) (38 seconds)



ในสิบเรื่องสั้นข้างต้นนั้นมีอยู่หนึ่งเรื่องที่ถือว่าเป็นภาพยนตร์ตลกที่มีชื่อเสียงเรื่องแรกของโลกนั่นคือ (#6) คนสวนกับสายยางฉีดน้ำ The Sprinkler Sprinkled, Waterer and Watered หรือจะเป็น L'Arrouseur Arrose เป็นเรื่องสั้นที่เกี่ยวกับพนักงานโรงงาน (#1 กล่าวไปในย่อหน้าบน) หรือจะเป็นซีเควนเกี่ยวกับคนขับรถลากม้าที่วิ่งเข้ามาหากล้อง (#9) และเรื่องสั้นของการป้อนอาหารเด็กทารก (#7) 

แต่ภาพยนตร์ที่ทำให้ตระกูล Lumiere ถูกจดจำได้มากที่สุดก็คือ เรื่องสั้นระยะเวลา 50 วินาที เรื่อง Arrivee d'un train en gare a La Ciotat (1895) (Arrival of a Train at La Ciotat) ซึ่งถูกรายงานว่ามันทำให้ผู้ชมเกิดอาการตกใจจนอกสั่นขวัญแขวนจนถึงขั้นลุกกระโจนออกจากที่นั่งเพราะคิดว่ารถไฟจะวิ่งเข้าชนพวกเขา และจนถึงปี 1898 บริษัท Lumiere ก็ได้ผลิตภาพยนตร์เป็นจำนวนมากกว่า 1 พันเรื่อง



การพัฒนาอื่นๆของเครื่องฉายภาพยนตร์
1. สองพี่น้องในเบอร์ลินประเทศเยอรมัน คือ Emil และ Max Skladanowsky ได้ประดิษฐ์เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นของตนเองในเดือน พฤศจิกายน 1895

2. ปี 1895 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันนาม Major Woodville Latham พัฒนาเครื่องฉายภาพยนตร์ชื่อ Eidoloscope(เครื่องฉาย Panoptikon) แต่กลับไม่ได้รับความนิยม แต่ก็นำไปแสดงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 1895 ซึ่งถือเป็นการจัดงานแสดงเกี่ยวกับภาพยนตร์ครั้งแรกๆ ของโลก

3. นักประดิษฐ์อเมริกัน Thomas Armat และ Charles Francis Jenkins ได้พัฒนาเครื่อง Phantascope ในปี 1893 จนสามารถฉายภาพยนตร์ได้ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 1895 พวกเขาได้เปิดตัวเครื่องฉายที่งานแสดงในแอตแลนต้า และจดทะเบียนสิทธิบัตร

4. ในลอนดอน เดือนมกราคม 1896 Birt Acres ได้พัฒนาเครื่องฉายภาพยนตร์ที่เรียกว่า Kinetic Lantern

5. ในปีเดียวกัน ชาวอังกฤษนาม Robert William Paul ได้สร้างเครื่องฉายที่ได้รับความนิยมชื่อว่า Theatrograph เขาจึงกลายเป็นผู้บุกเบิกการผลิตภาพยนตร์ในสหราชอาณาจักร 

ในปี 1896 บริษัทของเอดิสัน ได้ซื้อเครื่องฉายภาพยนตร์ที่ผลิตโดย Thomas Armat เข้ามา( ชื่อดั้งเดิมคือ Phantascope) และตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่า Vitascope ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสุดท้ายของบริษัทเอดิสัน โดย Vitascope เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ทางการค้าเรื่องแรกที่ปะสบความสำเร็จในสหรัฐฯ โดยวันที่ 23 เมษายน 1896 โทมัส เอดิสัน ได้ใช้เครื่อง Vitascope เปิดฉายให้สาธารณชนเป็นครั้งแรกในสหรัฐฯโดยเก็บค่าเข้าชม โดยจัดฉายขึ้นในโรงมหรสพแสดงดนตรี ในนิวยอร์ค ผู้ชมได้เพลิดเพลินจากการแสดงบัลเล่ต์ที่ฉายโดย Vitascope ผสมกับการแสดงประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพยนตร์ แต่ Vitascope นั่นจัดฉายในเมืองนิวยอร์คเพียงที่เดียวเท่านั้น ทำให้ไม่ได้รับแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางมากนัก



บริษัท Pathé-Frères ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 ในปารีส โดย Charles และ Emile Pathè โดยทศวรรษต่อมา บริษัทนี้ก็ได้กลายเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีอัตราส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของภาพยนตร์ที่ฉายในสหรัฐเป็นของบริษัทนี้ทั้งหมด 

โดยปี 1897 ฟิล์มขนาด 35 มม.กลายเป็นค่ามาตรฐานที่นิยมในขณะนั้น แม้ว่าบริษัท American Mutoscope หรือบริษัทอื่นๆ ยังคงใช้ค่ามาตรฐานอื่นๆ ก็ตาม แต่สุดท้ายในปี 1909 ฟิล์มขนาด 35 มม. ได้ถูกใช้เป็นค่ามาตรฐานในระดับนานาชาติ

การพัฒนาของภาพยนตร์อื่นๆที่น่าจดจำ


- The Corbett-Fitzsimmons Fight (1897) เป็นภาพยนตร์การแข่งขันชกมวย มีความยาวถึง 100 นาที (ยาวที่สุดในขณะนั้น) จัดแสดงโดยบริษัท Veriscope Company ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1897 ณ สถาบันการดนตรี ในนิวยอร์ค มันถูกพิจารณาว่าเป็นภาพยนตร์ยาวเรื่องแรกของโลก ซึ่งประกอบไปด้วย 14 ยก ยกละ 3 นาที บวกด้วยการแนะนำตัวก่อนขึ้นชก 5 นาที และก็ไม่หยุดถ่ายแม้กระทั่งขณะพัก 1 นาที ในแต่ละยก 

- หนึ่งในโครงการแรกเริ่มของบริษัทเอดิสันที่ได้ทำ(ประมาณ ค.ศ. 1897) นั่นคือภาพยนตร์โฆษณาที่ชื่อว่า Admiral Cigarette (1897) เพื่อโฆษณารณรงค์ให้คนหันมาสูบบุหรี่ มีความยาว 28 วินาทีและถือเป็นต้นแบบการค้าของบริษัท Admiral Cigarette ภาพยนตร์ชิ้นนี้ได้รับการจดลิขสิทธิ์ในวันที่ 5 สิงหาคม 1897



Louis Lumière

Louis Lumière




AKA Louis Jean Lumière
Born: 5-Oct-1864
Birthplace: Besancon, France
Died: 6-Jun-1948
Location of death: Bandol, France
Cause of death: unspecified
Remains: Buried, Cimètiere de la Guillotière, Lyon, France
Gender: Male
Race or Ethnicity: White
Sexual orientation: Straight
Occupation: Inventor
Nationality: France
Executive summary: Inventor of motion pictures
His father, Antoine Lumière (1840-1911), was a painter of portraits who had a studio in Besançon, and added the relatively new technique called photography to his services in 1861. At this shop in 1882 Louis Lumière and his brother Auguste developed a new apparatus for the mechanized production of photographic gelatin dry-plates, which had been introduced several years earlier, eliminating the need for plates to be stored in a darkroom before and after exposure. The Lumières' method of mass-producing these dry-plates made the hobby and profession of picture-taking far more convenient, and transformed the brothers' business from a struggling shop into a minor industrial concern. By 1900 Lumière & Sons was one of Europe's largest photographic firms.
In 1894, their father returned from a trip to America excited about a new technology he had seen demonstrated,Thomas Edison's kinetoscope, and the elder Lumière's impassioned description of the device inspired his sons' imagination. Kinetoscopes, however, could only be viewed by one person at a time, by peering through a peephole into a mechanized box. Louis Lumière envisioned something different -- a projected image that could be shared by an audience, in the same way that audiences share a play. With his brother's assistance, Lumière designed the Cinematograph, a self-contained camera and projector which used a clawed-gear to advance sprocketed film, a principle used in movie cameras and projectors for more than a century since. The machine was constructed by their colleague, engineer Charles Moisson, and was lightweight enough to be effectively portable, allowing the capture of motion at almost any location.
The Cinematograph was patented in both brothers' names on 13 February 1895, though Auguste Lumière generally conceded that his brother was its primary inventor. It was the first apparatus for making and showing films to audiences in a way that would be recognizable today as "going to the movies", and the Lumière brothers are often credited as inventors of the motion picture. They presented the first public screening of a movie, La Sortie des Usines Lumière (Workers Leaving the Lumière Factory), at the Société d'Encouragement de l'Industrie Nationale in Paris on 22 March 1895. Nine months later, on 28 December 1895, they held the first motion picture exhibition for a paying audience, presenting a twenty-minute program of ten of their short films (though the adjective "short" was not yet applicable) in a rented room at the Grand Cafe on Boulevard des Capucines in Paris. According to legend, when a clip of a train advancing toward the camera and crowd was projected on the screen, men screamed, women fainted, and much of the audience ran toward the back of the auditorium.
The Lumières, however, saw motion pictures more as a curiosity than a business venture, and they withdrew from motion picture production in about 1901, as other technology soon superseded the Cinematograph. They continued in the photography business with great success, however, introducing the popular Autochrome system of color photography in 1904, and the Lumière brand remained a stalwart of European photography for decades. After Auguste Lumière stepped away from the business in 1910, Louis Lumière introduced a stereoscopic photography system in 1920, and a three-dimensional motion picture system in 1930. In a fitting coincidence, their surname, Lumière, translates to English as the word "light".
Father: Claude Antoine Lumière (artist/photographer, b. 13-Mar-1840, d. 15-Apr-1911)
Mother: Jeanne Joséphine Costille Lumière (b. 29-Jul-1841, m. 1861, d. 20-Dec-1915)
Brother: Auguste Marie Nicolas Lumière b. 19-Oct-1862 Besancon, France, d. 10-Apr-1954 Lyon, France
Sister: Jeanne Claudine Odette Lumière Koehler (b. 2-Apr-1870, d. 24-Oct-1926)
Sister: Juliette Lumière Winckler Gélibert (b. 30-Sep-1873, d. 25-Jan-1924)
Sister: Francine Lumière Winckler ("France", b. 18-Sep-1882, d. 3-May-1924)
Brother: Edouard Lumière (b. 18-Nov-1884, d. 17-Apr-1917 World War I)
Wife: Jeanne Rose Léonie Winckler Lumière (b. 3-Oct-1868, m. 2-Feb-1893, d. 21-Oct-1925, three children)
Daughter: Marguerite Jeanne Suzanne Lumière Trarieux (b. 15-Sep-1894, d. 24-Dec-1973)
Son: Jean Lumière (b. 1898, d. 1898 stillborn)
Daughter: Albertine Louise Yvonne Lumière (b. 28-Apr-1907, d. 4-Apr-1993)
    High School: La Martinière Technical High School, Lyon, France (1880)
    French Academy of Sciences 1919
    French Legion of Honor
    Hollywood Walk of Fame 1529 Vine Street (motion pictures)
    Royal Photographic Society
    French Ancestry
    Asteroid Namesake 775 Lumière (named for both brothers)

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

l'Union européenne




Il  y a 27  pays  dans  l'Union européenne: 

1.) Autriche                      Vienne             ( Austria                    :  Vienna ) 
2.) Belgique                      Bruxelles          ( Belgium                  :  Brussels )
3.) Bulgarie                       Sofia                ( Bulgaria                 :  Sofia )
4.) Chypre                         Nicosie            ( Cyprus                   :  Nicosia )
5.) République tchèque    Prague            ( Czech Republic      :  Prague )
6.) Danemark                    Copenhague   ( Denmark                :  Copenhagen )
7.) Estonie                         Tallinn             ( Estonia                  :  Tallinn )
8.) Finlande                       Helsinki           ( Finland                  :  Helsinki )
9.) France                         Paris                ( France                  :  Paris )
10.) Allemagne                  Berlin               ( Germany              :  Berlin )
11.) Grèce                        Athènes            ( Greece                 :  Athens )
12.) Hongrie                      Budapest          ( Hungary               :  Budapest )
13.) Irlande                        Dublin              ( Ireland                  :  Dublin )
14.) Italie                           Rome               ( Italy                       :  Rome )
15.) Lettonie                      Riga                 ( Latvia                   :  Riga )
16.) Lituanie                      Vilnius              ( Lithuania              :  Vilnius )
17.) Luxembourg               Luxembourg     ( Luxembourg         :  Luxembourg )
18.) Malte                         La Valette         ( Malta                    :  Valletta )
19.) Pays-Bas                   Amsterdam       ( Netherlands         :  Amsterdam )
20.) Pologne                     Varsovie           ( Poland                 :  Warsaw )
21.) Portugal                     Lisbonne          ( Portugal               :  Lisbon )
22.) Roumanie                  Bucarest           ( Romania              :  Bucharest )
23.) La Slovaquie             Bratislava          ( Slovakia              :  Bratislava )
24.) La Slovénie               Ljubljana           ( Slovenia              :  Ljubljana )
25.) Espagne                    Madrid              ( Spain                   :  Madrid )
26.) Suède                       Stockholm         ( Sweden               :  Stockholm )
27.) Royaume-Uni            Londres            ( United-Kingdom   :  London )

สหภาพยุโรป (European Union -- EU) 


ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง            ประเทศในทวีปยุโรป 27 ประเทศ (ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวะเกีย โรมาเนียและบัลแกเรีย)

พื้นที่            4.325 ล้าน ตารางกิโลเมตร

ประชากร       ประมาณ 500 ล้านคน

ภาษา           ภาษาทางการ 22 ภาษา

ศาสนา          ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่น ๆ เช่น ยิว อิสลาม พุทธ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่  กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม

สกุลเงิน         ยูโร (สมาชิกประเทศสหภาพยุโรปเข้าร่วมใน eurozone 17 ประเทศ  ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี  ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สโลวีเนีย ไซปรัส  มอลต้า สโลวาเกีย และเอสโตเนีย) 

อัตราแลกเปลี่ยน     1 ยูโร =  43.82 บาท (ณ วันที่ 22 มิ.ย. 2011) 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)  15.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2009)
อัตราการเจริญเติบโตของ GDP       ร้อยละ 1.8 (2010)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว                       31,257 ดอลลาร์สหรัฐ / คน (2009)

อัตราการว่างงาน                         ร้อยละ 9.9 (เม.ย. 2011)

อัตราเงินเฟ้อ                              ร้อยละ 2.7 (พ.ค. 2011)

ตลาดนำเข้าสำคัญ                       จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย นอร์เวย์

สินค้านำเข้าสำคัญ                       น้ำมันปิโตรเลียม/ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุปกรณ์โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน 

ตลาดส่งออกสำคัญ                      สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย  จีน

สินค้าส่งออกสำคัญ                      ยานพาหนะทางถนน เครื่องจักรกลและ อุปกรณ์อุตสาหกรรมและไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทรัพยากรสำคัญ แร่เหล็ก ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ยูเรเนียม

ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป          นาย Jose Manuel Barroso        (โปรตุเกส)

ประธานสภายุโรป                         นาย Jerzy Buzek (โปแลนด์)                                                     

ประธานคณะมนตรียุโรป                 นาย Herman Van Rompuy          (เบลเยียม)   

ผู้แทนระดับสูงของ EU                       
ด้านการต่างประเทศ                      
และนโยบายความมั่นคง                 Baroness Catherine Ashton         (สหราชอาณาจักร)


สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรป

• ในภาพรวม สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อทิศทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก 
• ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ “Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด 
• พลังทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการขยายสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในกรอบสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนานโยบายร่วมในด้านต่างๆ และการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันและการบริหาร

ความเป็นมา

• ค.ศ. 1952 : จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community – ECSC) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก  
• 25 มี.ค. ค.ศ. 1957 ประเทศทั้ง 6 ได้ลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaties of Rome) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปซึ่งได้พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
• ค.ศ. 1958 : จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (European Atomic Energy Community – EURATOM) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community – EEC)
• ค.ศ. 1967 : ทั้งสามองค์กรได้รวมตัวกันภายใต้กรอบ EEC
• ค.ศ. 1968 : EEC ได้พัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) และก้าวสู่การเป็นตลาดร่วม (Common Market)
• ค.ศ. 1973 : สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1981 : กรีซเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1986 : สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1987 : Single European Act พัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่า ประชาคมยุโรป (European Community – EC)
• ค.ศ. 1992 : ลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of the European Union) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญามาสทริกท์ (Maastricht Treaty) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป (European Union – EU) มี 3 เสาหลัก คือ (1) ประชาคมยุโรป (2) นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และ (3) ความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน
• ค.ศ. 1995 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1997 : ลงนามในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) แก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญามาสทริกท์เรื่องนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ความเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป และการปฏิรูปกลไกด้านสถาบันของสหภาพยุโรป
• ค.ศ. 2001 : ลงนามในสนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) เน้นการปฏิรูปด้านสถาบันและกลไกต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปเพื่อรองรับการขยายสมาชิกภาพ
• 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 : รับสมาชิกเพิ่มอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา  โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย
• 29 ตุลาคม ค.ศ. 2004 : ประเทศสมาชิก EU 25 ประเทศ                                                                        
• 1 มกราคม ค.ศ. 2007 : ประเทศสมาชิก EU 27 ประเทศ (รับเพิ่มอีก 2 ประเทศ ได้แก่ โรมาเนียและบัลแกเรีย)                                               
 • 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009 : สนธิสัญญาลิสบอนมีผลใช้บังคับ


สถาบันหลักของสหภาพยุโรป

คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) 
• เป็นองค์กรตัดสินใจหลักของ EU โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐสมาชิก EU ทั้งหมด และมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎระเบียบของ EU และอนุมัติงบประมาณ (ร่วมกับสภายุโรป) และเป็นเวทีสำคัญในการประสานงานด้านนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง (CFSP) ตลอดจนกำกับดูแลการทำงานของคณะกรรมาธิการยุโรป และประสานงานเรื่องอื่นๆ ระหว่างประเทศสมาชิก EU ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะผลัดกันทำหน้าที่เป็นประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป วาระ 6 เดือน โดยจะทำหน้าที่ประธานในการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก EU ในสาขาต่างๆ ยกเว้นในด้านการต่างประเทศซึ่งสนธิสัญญาลิสบอนกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้แทนระดับสูงของ EU ด้านการต่างประเทศและนโยบายด้านความมั่นคง                                               
• หน้าที่หลักของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีดังนี้
1. ทำงานร่วมกับสภายุโรปในการบัญญัติกฎหมายของ EU
2. ประสานแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
3. บรรลุความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ระหว่าง EU กับประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
4. ใช้อำนาจร่วมกับสภายุโรปในการอนุมัติงบประมาณของ EU
5. ประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและศาลยุติธรรมในการปราบปรามอาชญากรรม

คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) 
• คณะผู้บริหารคณะกรรมาธิการยุโรปประกอบด้วยประธานและกรรมาธิการยุโรป 1 คน และกรรมาธิการอีก 26 คน (ตามจำนวนรัฐสมาชิก 27 ประเทศ) และข้าราชการประจำจำนวนประมาณ 25,000 คน  คณะผู้บริหารฯ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และได้รับการแต่งตั้งโดยคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป โดยความเห็นชอบของสภายุโรป (ซึ่งมีอำนาจลงมติไม่รับรองคณะผู้บริหารคณะกรรมาธิการยุโรปทั้งคณะ แต่ไม่มีอำนาจที่จะเลือกไม่รับรองกรรมาธิการเป็นรายบุคคล) 
• เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2010 ที่ประชุมสภายุโรปเต็มคณะได้ลงคะแนนรับรองคณะผู้บริหารคณะกรรมาธิการยุโรปชุดใหม่ วาระ 5 ปี (ปี 2009 - ต.ค. 2014) ภายใต้การนำของนาย José Manuel Barroso (อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป สมัยที่ 2 โดยได้เข้ารับหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2010
• หน้าที่หลักของคณะกรรมาธิการยุโรป มีดังนี้
  1.มีหน้าที่ในการริเริ่มร่างกฎหมายและเสนอให้คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และสภายุโรป (ในกรณีส่วนใหญ่) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่รัฐสมาชิก EU และ/หรือสถาบันของ EU ที่เกี่ยวข้องจะนำไปปฏิบัติ 
  2.ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารของ EU มีหน้าที่ในการนำกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณ และนโยบายระดับ EU ไปปฏิบัติ
  3.พิทักษ์รักษาสนธิสัญญาต่างๆ และทำงานร่วมกับศาลยุติธรรมยุโรป ในการดูแลให้กฎหมาย EU ถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม
  4.เป็นตัวแทนของ EU ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเจรจาในเรื่องการค้าและการร่วมมือระหว่างกัน

สภายุโรป (European Parliament)                  
• สมาชิกสภายุโรปอยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงในรัฐสมาชิก EU เดิมมีบทบาทด้านนิติบัญญัติจำกัดมากโดยไม่มีอำนาจเสนอร่างกฎระเบียบของ EU อย่างไรก็ดี สนธิสัญญาลิสบอนได้เพิ่มอำนาจให้กับสภายุโรปในการพิจารณารับรองร่างกฎระเบียบของ EU เพิ่มขึ้นกว่า 50 สาขา ภายใต้ ‘co-decision procedure’ ทำให้สภายุโรปมีบทบาทเท่าเทียมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในการพิจารณารับรองกฎระเบียบของ EU ซึ่งครอบคลุมถึงความตกลงระหว่าง EU กับประเทศที่สาม อาทิ ความตกลงเขตการค้าเสรี และกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน(Partnership and Cooperation Agreement – PCA) ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับ EU ด้วย                      
• การเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป (members of the European Parliament-MEPs) ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี 1979 การเลือกตั้งครั้งล่าสุดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-7 มิ.ย. 2009 โดยมีผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 736 คน      จากกลุ่มการเมืองต่างๆ ในประเทศสมาชิก EU ดังนี้     
1) กลุ่มพรรคอนุรักษ์นิยม Group of the European People's Party - Christian Democrats (EPP) ได้ที่นั่งมากที่สุด จำนวน 264 ที่นั่ง     
2) กลุ่มพรรคสังคมนิยม Party of European Socialists (PES) ได้ 161    ที่นั่ง      
3) กลุ่มพรรค Alliance of Liberals and Democrats for Europe (ALDE) ได้ 80 ที่นั่ง    
4) กลุ่มพรรค Green/ European Free Alliance ได้ 53 ที่นั่ง      
5) กลุ่มพรรค Union for Europe of the Nations (UEN) ได้ 35 ที่นั่ง (พรรคการเมืองฝ่ายขวา)    
6) กลุ่ม European United Left - Nordic Green Left  (GUE/NGL) ได้ 32 ที่นั่ง   
7) กลุ่มอิสระ Independence/Democracy Group (IND/DEM) ได้ 18 ที่นั่ง (พรรคการเมืองฝ่ายขวา)  
8) พรรคอื่นๆ ได้ 93 ที่นั่ง 
• การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นชัยชนะของพรรคอนุรักษ์นิยม (EPP) และแสดงให้เห็นถึงความถดถอยของพรรคสังคมนิยมในประเทศสมาชิก EU ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กลุ่มพรรค EPP ได้รับความนิยมในประเทศสมาชิกใหญ่ 5 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ขณะเดียวกัน เป็นการสะท้อนถึงความไม่พอใจของประชาชนในบางประเทศสมาชิกที่มีต่อรัฐบาลพรรคสังคมนิยมในขณะนั้น ได้แก่ สเปน กรีซ บัลแกเรีย และฮังการี 
• ที่ประชุมสภายุโรปเต็มคณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 14-16 ก.ค. 2009 ที่เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศสได้ลงมติเลือกนาย Jerzy Buzek (อดีตนายกรัฐมนตรีโปแลนด์) สังกัดพรรค EPP/Christian Democrats เป็นประธานสภายุโรปคนใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีประธานสภายุโรปมาจากภูมิภาคยุโรปตะวันออกนับตั้งแต่การขยายสมาชิกภาพของ EU เมื่อปี 2004
• สภายุโรปมีคณะกรรมาธิการสภาดูแลเฉพาะเรื่องต่าง ๆ เช่น กิจการระหว่างประเทศ งบประมาณ สิ่งแวดล้อม และมีกลุ่มสมาชิกสภายุโรปที่ดูแลความสัมพันธ์กับประเทศที่สาม อาทิ กลุ่มดูแลความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน 
• หน้าที่หลักของสภายุโรป มีดังนี้
1. ตรวจสอบและบัญญัติกฎหมายของสหภาพยุโรป โดยส่วนใหญ่จะใช้อำนาจร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
2. อนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป
3. ตรวจสอบการทำงานของสถาบันต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปตามหลักประชาธิปไตย รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการไต่สวน
4. ให้ความเห็นชอบข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น การรับสมาชิกใหม่ และความตกลงด้านการค้าหรือการมีความสัมพันธ์ในเชิงการรวมกลุ่มระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศที่สาม 

คณะมนตรียุโรป (European Council)
• นอกจากทั้ง 3 สถาบันข้างต้นแล้ว ยังมีคณะมนตรียุโรป (European Council) ซึ่งเป็นเวทีการประชุมของประมุขแห่งรัฐ/ผู้นำรัฐบาลของประเทศสมาชิก EU โดยมีการประชุมคณะมนตรียุโรปอย่างเป็นทางการปีละ 4 ครั้ง (ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปเข้าร่วมการประชุมด้วยทุกครั้ง) โดยผู้นำ EU จะร่วมกันตัดสินใจในประเด็นด้านนโยบายที่สำคัญต่อ EU และแม้ว่าผลการประชุมของคณะมนตรียุโรปจะไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย แต่ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางและนโยบาย ทั้งกิจการภายใน EU และนโยบายต่างประเทศของ EU และเป็นกรอบปฏิบัติให้กับสถาบันอื่นๆ ของ EU 
• สนธิสัญญาลิสบอนได้ให้สถานะทางกฎหมายแก่คณะมนตรียุโรป และมีการสร้างตำแหน่งใหม่ คือ ประธานคณะมนตรียุโรป (President of the European Council) ซึ่งนาย Herman Van Rompuy อดีต นรม.เบลเยียม ได้รับการเลือกตั้งโดยฉันทามติจากรัฐสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยเข้ารับหน้าที่พร้อมกับการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาลิสบอน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2009 (เริ่มปฏิบัติหน้าที่จริงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2010) ประธานคณะมนตรีทำหน้าที่ประธานในการประชุม         คณะมนตรียุโรปและมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทน EU ด้านการต่างประเทศ

สนธิสัญญาลิสบอน (Treaty of Lisbon)
• ประเทศสมาชิก EU ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อตอบสนองกระบวนการบูรณาการภายใน EU ที่ก้าวหน้าขึ้น และความประสงค์ที่จะขยายบทบาทของ EU ในประชาคมโลก โดยในชั้นแรกเห็นควรให้จัดทำ “ธรรมนูญยุโรป” (European Constitution) แต่แนวคิดดังกล่าวต้องล้มเลิกไปเนื่องจากประชาชนฝรั่งเศส   และประชาชนเนเธอร์แลนด์ได้ปฏิเสธร่างธรรมนูญยุโรปในการจัดทำประชามติในทั้ง 2 ประเทศ เมื่อปี 2004 และ 2005 ตามลำดับ ต่อมา เมื่อวันที่ 18 – 19 ต.ค. 2007 ผู้นำรัฐบาล/ประมุขแห่งรัฐของประเทศสมาชิก EU สามารถบรรลุข้อตกลงระหว่างกันให้เปลี่ยนจากการจัดทำธรรมนูญยุโรปเป็นการจัดทำสนธิสัญญา (Treaty) แทน โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2007 ผู้นำรัฐบาล/ประมุขแห่งรัฐของประเทศสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศ ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ทั้งนี้สนธิสัญญาลิสบอนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2009  
• สาระสำคัญของสนธิสัญญาลิสบอน ได้แก่ 
1) เป็นสนธิสัญญาระหว่างรัฐสมาชิก EU ที่ให้ความเห็นชอบในการสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้แก่ความร่วมมือเหนือชาติ (supranational cooperation) โดย Article 3 ของสนธิสัญญาลิสบอนระบุว่า EU มีอำนาจเบ็ดเสร็จ (exclusive competences) ในเรื่อง (1) สหภาพศุลกากร (customs union)  (2) การออกกฎระเบียบด้านการแข่งขัน (competition rules) ที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ของตลาดภายใน (3) นโยบายด้านการเงิน (monetary policy) สำหรับรัฐสมาชิก EU ที่ใช้สกุลเงินยูโร (4) การอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพทางทะเล (marine biological resources) ภายใต้นโยบายร่วมด้านประมง และ (5) นโยบายการค้าร่วม (common commercial policy) 
2) สนธิสัญญาฯ กำหนดให้สร้างตำแหน่งผู้บริหารขึ้น 2 ตำแหน่งใหม่ คือ 
 2.1 ประธานคณะมนตรียุโรป (President of the European Council) (เทียบเท่าผู้นำรัฐบาล/ประมุขแห่งรัฐ) แต่งตั้งโดยคณะมนตรียุโรป โดยจะอยู่ในวาระ 2 ปีครึ่ง และไม่เกิน 2 สมัย เพื่อทำหน้าที่ประธานในการประชุมผู้นำรัฐบาล/ประมุขของรัฐของประเทศสมาชิก EU แทนระบบประธานฯ หมุนเวียนที่ประเทศสมาชิก EU ผลัดกันรับหน้าที่ดังกล่าว วาระละ 6 เดือน รวมทั้งเป็นผู้แทนของ EU เกี่ยวกับนโยบายร่วมด้านต่างประเทศและความมั่นคง (CFSP) ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่ออำนาจของผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง นาย Herman Van Rompuy อดีตนายกรัฐมนตรีเบลเยียมได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปคนแรก
 2.2 ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง (EU High Representative for Foreign Affairs and Security Policy (เทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ EU) ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะมนตรียุโรปซึ่งเป็นการรวม 2 ตำแหน่ง/ภารกิจเดิมของผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของ EU (High Representative for Common Foreign and Security Policy) (นาย Javier Solana เคยดำรงตำแหน่งนี้) และตำแหน่งกรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน (นาง Benita Ferrero-Waldner เคยดำรงตำแหน่งนี้) โดยจะดูแลเรื่องนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงที่มาจากการตัดสินใจร่วมกันของประเทศสมาชิก และเป็นประธานในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก EU (แทนระบบประเทศสมาชิกผลัดกันเป็นประธาน วาระละ 6 เดือน) ทั้งนี้ ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศฯ จะดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปอีกตำแหน่งด้วย โดยกำกับดูแลงานภายในคณะกรรมาธิการยุโรปที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยกเว้นการค้าระหว่างประเทศการขยายสมาชิกภาพของ EU และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทภัยพิบัติ ซึ่งทำให้บุคคลที่รับหน้าที่นี้มีอำนาจหน้าที่ทั้งในคณะกรรมาธิการยุโรป และคณะมนตรียุโรป Baroness Catherine Ashton อดีตกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (สัญชาติอังกฤษ) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนระดับสูงของ EU ด้านการต่างประเทศฯ คนแรก 
            อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิก EU ยังคงมีอำนาจในการดำเนินนโยบายต่างประเทศและนโยบายด้านการทหาร/ความมั่นคงเช่นเดิม โดยการสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคลทั้งพลเรือนและทหารแก่ EU เพื่อการดำเนินการด้านการป้องกันและความปลอดภัยร่วม (Common  Security and Defence operations) ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก
3) สนธิสัญญาลิสบอนกำหนดให้มีการจัดตั้ง European External Action Service (EEAS) เพื่อทำหน้าที่เป็น “กระทรวงการต่างประเทศ” ของ EU โดยมีการคัดสรรบุคลากรจากกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกและสถาบันอื่นๆ ของ EU มาปฏิบัติราชการเพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้แทนระดับสูงของ EU ด้านการต่างประเทศฯ แลEEAS เริ่มปฏิบัติการเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2011 โดยขึ้นตรงต่อ Baroness Ashton และดำเนินงานเป็นอิสระจากคณะกรรมาธิการยุโรปและคณะมนตรียุโรป             
      - โครงสร้าง EEAS บุคลากรของ EEAS ทั้งที่สำนักงานใหญ่  ณ กรุงบรัสเซลส์ และที่ประจำการในสำนักงานคณะผู้แทน EU ในประเทศที่สาม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่โอนย้ายมาจากคณะกรรมาธิการยุโรปและสำนักเลขาธิการคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป จำนวนรวม 1,643 คน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 550 คนเป็นนักการทูตจากประเทศสมาชิก EU ที่ย้ายมาประจำ EEAS
      - สำนักงานใหญ่ของ EEAS ที่กรุงบรัสเซลส์ ประกอบด้วยหน่วยงาน (Directorate-General) ต่างๆ และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประเทศและภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งงานด้านพหุภาคี           
      - สำนักงานคณะผู้แทน EU ใน 136 แห่งทั่วโลก สนธิสัญญาลิสบอนมีผลให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกของคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเดิมอยู่ภายใต้สังกัดของคณะกรรมาธิการยุโรปเป็นสำนักงานคณะผู้แทน EU โดยอยู่ภายใต้สังกัด EEAS เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทน EU ทำหน้าที่เป็นผู้แทน EU ในการดำเนินนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคงกับประเทศที่สาม ซึ่งเดิมเป็นอำนาจของประเทศสมาชิก EU ที่ทำหน้าที่ประธาน EU แบบหมุนเวียนในขณะนั้น อย่างไรก็ดี บทบาทประธาน EU แบบหมุนเวียนในประเทศที่สามยังคงมีอยู่เป็นการชั่วคราว     แต่บทบาทลดลงและจำกัดอยู่ในด้านกงสุลและวัฒนธรรมในช่วง
เปลี่ยนผ่าน
       - อำนาจหน้าที่ของ EEAS  (1) ทำหน้าที่เป็นกระทรวงการต่างประเทศของ EU ในด้าน CFSP (2) ในการแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่าง EEAS กับคณะกรรมาธิการยุโรปนั้น ในหลักการ EEAS รับผิดชอบในเรื่องการยุติความขัดแย้งระหว่างประเทศและการสร้างสันติภาพ ส่วนคณะกรรมาธิการยุโรปรับผิดชอบงานด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา พลังงาน การขยายสมาชิกภาพของ EU และการค้าระหว่างประเทศ
        - EEAS ภายใต้การนำของ Baroness Ashton ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของ EU และความสัมพันธ์กับประเทศที่ EU มองว่ามีศักยภาพในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อาทิ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ โดย EU กำหนดให้ประเทศเหล่านี้เป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” (strategic partners) นอกจากนั้น Baroness Ashton มีความสนใจจะขยายความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในกรอบ ASEAN และ ASEAN Regional Forum (ARF)
4) สนธิสัญญาลิสบอนเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ให้พื้นฐานทางกฎหมายแก่ EU ในการดำเนินการด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมีการระบุอย่างชัดเจนว่า การลดและขจัดความยากจนในประเทศที่สามเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของนโยบายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของ EU อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายนี้ยังขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละประเทศสมาชิก EU เนื่องจากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ CFSP 
5) สนธิสัญญาลิสบอนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดว่า เป้าหมายหนึ่งของ EU ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการปกป้องและพัฒนาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งภายใต้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของ EU นอกจากนี้ สนธิสัญญาลิสบอนยังระบุว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเป้าหมายหนึ่งของ EU ในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศที่สาม   
6) สภายุโรปมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากได้รับอำนาจมากขึ้นในการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายของ EU เกือบทั้งหมด (co-decision) ร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (ในฐานะตัวแทนประเทศสมาชิก EU) เช่น เกษตรกรรม พลังงาน ความมั่นคง การตรวจคนเข้าเมือง ยุติธรรม มหาดไทย และสาธารณสุข สนธิสัญญาลิสบอนยังกำหนดให้สภายุโรปต้องหารือกับรัฐสภาของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย ซึ่งจะทำให้การทำงานของ EU มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และในขณะเดียวกัน จะมีความคาดหวังจากสภายุโรปสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ มีการเพิ่มจำนวนสมาชิกสภายุโรปจากเดิมจำนวน 736 คน เป็นจำนวนไม่เกิน 750 คน โดยแต่ละประเทศสมาชิกจะมีสมาชิกสภายุโรปได้สูงสุดไม่เกิน 96 คน


ความสัมพันธ์ไทย – สหภาพยุโรป         
ภาพรวม
• ไทยให้ความสำคัญกับ EU เนื่องจากเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 500 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศปีละประมาณ 12,000 พันล้านยูโร และเป็นภูมิภาคที่มีอำนาจซื้อสูงที่สุดในโลก EU จึงเป็นยักษ์ใหญ่ในเวทีการค้าโลกที่มีอำนาจต่อรองสูงและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเป็นผู้นำด้านกฎระเบียบและนโยบายด้านการค้าและที่มิใช่การค้าที่สำคัญของโลก (Global Standards Setter) 
• สหภาพยุโรปให้ความสำคัญต่อไทยว่าเป็นหุ้นส่วนสำคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมิติการเมืองและความมั่นคง โดยไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งในกรอบอื่นๆ เช่น อาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN-EU) และในกรอบ ARF (ASEAN Regional Forum)                
 • ยุทธศาสตร์ไทยต่อ EU คือ การเน้นว่าไทยยึดมั่นในคุณค่าประชาธิปไตยและระบบการค้าเสรี เช่นเดียวกับ EU เพื่อให้ EU มีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพและความต่อเนื่องของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของไทยและเพื่อให้เห็นไทยเป็นหุ้นส่วนหลักในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยในการขยายการค้า การลงทุนการท่องเที่ยว     และการรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก EU และเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะยาว
ด้านเศรษฐกิจ                                                 
•  ในส่วนความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับไทยนั้น EU เป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของ
ไทย รองจากอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน มูลค่าการค้าสองฝ่ายในปี 2010 คิดเป็น
มูลค่า 35.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากปี 2009 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า EU จำนวน 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเป็นกลุ่ม
ประเทศที่ลงทุนในไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น โดยในปี 2010 
มีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  (BOI) จำนวน 136 โครงการ มูลค่า 64,854 ล้านบาท ประเทศ
สมาชิก EU ที่ลงทุนในไทยมากเป็นอันดับแรก คือ เนเธอร์แลนด์ (25,780 
ล้านบาท) ทั้งนี้ ลู่ทางของสินค้าไทยในตลาดยุโรป คือ สินค้าเกษตร และอาหาร
• สถานการณ์การค้าในปัจจุบัน มูลค่าการค้าไทย – EU ในปี 2010 มีมูลค่ารวม 35.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 21.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 13.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นจำนวน 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเยอรมนีเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ไทยส่งออกสินค้าไปมากที่สุดคือ สหราชอาณาจักร รองลงมาคือ เนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้ามากที่สุด คือ เยอรมนี รองลงมาคือสหราชอาณาจักรและอิตาลี 
• สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไป EU ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ไก่แปรรูป และยางพารา
• สินค้าที่ไทยนำเข้าจาก EU ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์   
• ประเด็นเศรษฐกิจและการค้าเป็นปัญหาหลักในความสัมพันธ์ไทย – EU เนื่องจาก EU มีกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าที่เข้มงวด มีมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่สูง และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น และมาตรการที่มิใช่ภาษีของสหภาพยุโรป (NBT) โดยปัญหาการค้าระหว่างกันที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ มาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาดของ EU การห้ามนำเข้าเนื้อไก่ดิบจากไทยด้วยเรื่องปัญหาไข้หวัดนก การขอแก้ไขตารางข้อผูกพันทางภาษีสำหรับสินค้าสัตว์ปีกภายใต้องค์การการค้าโลก กฎระเบียบต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated – IUU Fishing) กฎระเบียบและนโยบายของ EU ด้านสิ่งแวดล้อม       • เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหา/อุปสรรคทางการค้าระหว่างไทยกับ EU กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ได้จัดทำเว๊บไซต์  www.thaieurope.net เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ นโยบายของ EU ในด้านต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของไทย บทบาทการแจ้งเตือนล่วงหน้า (early warning) มีส่วนช่วยให้ภาครัฐและภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องปรับตัวเพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EU ซึ่งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
• สถานการณ์การลงทุน  ในปี 2010 ประเทศสมาชิก EU ได้รับอนุมัติการลงทุนจาก BOI ของประเทศไทย จำนวน 136 โครงการ มูลค่า 64,854 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ซึ่งมี 121 โครงการ มูลค่า 13,433 ล้านบาท)  โดยแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเนเธอร์แลนด์ สเปน และเบลเยียม โดยมีโครงการขนาดใหญ่ที่ยื่นขออนุมัติ อาทิ โครงการผลิตเหล็กขั้นปลาย ชิ้นส่วนเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ 
• สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว  ในปี 2010 มีนักท่องเที่ยวจากยุโรปทั้งหมด (รวมประเทศนอกกลุ่ม EU) เดินทางมาไทยจำนวน 4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 6.93 และคิดเป็นร้อยละ 28 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียน (ร้อยละ 14.14) โดยประเทศยุโรปที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยมากที่สุด 3 ประเทศแรกเป็นประเทศสมาชิก EU คือ อังกฤษ (8.4 แสนคน) เยอรมนี (5.7 แสนคน) และฝรั่งเศส (4.2 แสนคน)
ด้านการเมือง 
 • โดยรวม ไทยกับ EU มี ความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่น ในมุมมองของ EU ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่ง EU ให้ความสำคัญในเรื่องนี้    ไทยจึงเป็นหุ้นส่วนสำคัญของ EU ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                                               
 • ไทยกับ EU มีกลไกดำเนินการความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคี ได้แก่ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-สหภาพยุโรป และทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรปและรัฐสมาชิก นอกจากนี้ EU ได้ทาบทามไทยให้เจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป                                                                                                                     
• การจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 10 (10th Thai-EU Senior Officials’ Meeting-SOM) เมื่อวันที่ 20-21 พ.ค. 2010 คณะกรรมาธิการยุโรปเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (Thai-EU Senior Officials’ Meeting-SOM) ครั้งที่ 10 (SOM 10)  โดยรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายอภิชาติ ชินวรรโณ) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และนาย Stefano Sannino รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (Directorate-General for External Relations – DG RELEX) คณะกรรมาธิการยุโรปเป็นหัวหน้าคณะของฝ่าย EU ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นต่างๆ ทั้งในความสัมพันธ์ทวิภาคี ประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายยินดีที่มีการประชุมในกรอบนี้หลังจากที่ว่างเว้นมาเกือบ 6 ปี (SOM 9 จัดเมื่อเดือน ธ.ค. 2004) อนึ่ง โดยที่มีการปรับโครงสร้างสถาบัน EU ตามผลของสนธิสัญญาลิสบอนทำให้มีการจัดตั้ง “กระทรวงการต่างประเทศ EU” (EEAS) ดังนั้น EEAS จะดูแลการประชุมในกรอบนี้แทน DG RELEX ที่ถูกยุบไป                                                          
• การเยือนสหภาพยุโรปของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รมว.กต.)  รมว.กต. เยือนภูมิภาคยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยียม EU ออสเตรีย และสโลวาเกีย ระหว่างวันที่ 21-26 มิ.ย. 2010 โดยได้เยือนกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 22-23 มิ.ย. 2010 และได้พบหารือกับกรรมาธิการยุโรป 2 ราย คือ นาย Karel De Gucht กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า และนาง Kristalina Georgieva กรรมาธิการยุโรปด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ และได้พบปะกับนาย Graham Watson สมาชิกสภายุโรป สังกัดกลุ่มพรรค Alliances of Liberals and Democrats for Europe  และผู้บริหารของ NGOs ได้แก่  International Crisis Group (ICG) และ International Federation for Human Rights (IFHR) นอกจากนั้น รมว.กต. ได้กล่าวบรรยายในหัวข้อ Domestic and International Challenges for Post-Crisis Thailand ตามคำเชิญของสถาบัน European Policy Centre (EPC) ซึ่งเป็น think tank ที่มีชื่อเสียงใน EU                                                     
• เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2011 รมว.กต. พบหารือกับนาง Kristalina Georgieva กรรมาธิการยุโรปด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะร่วมมือกันในเรื่องการจัดการและบรรเทาภัยพิบัติ ทั้งในระดับทวิภาคีและในกรอบอาเซียน และการบริหารจัดการปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบชาวพม่าในที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย
• แถลงการณ์ของ EU เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย EU ติดตามสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาโดยในช่วงรัฐบาลปัจจุบัน EU ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยหลายครั้ง ได้แก่ 1) เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2009 โดยสาธารณรัฐเช็กในฐานะประเทศที่ทำหน้าที่ประธาน EU ในขณะนั้น 2) เมื่อวันที่ 8 และ 13 เมษายน 2010 และวันที่ 21 พ.ค. 2010 โดย Baroness Catherine Ashton ผู้แทนระดับสูงของ EU ด้านการต่างประเทศฯ และ 3) เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2010 โดยออท./หัวหน้าคณะผู้แทน EU ร่วมกับ ออท.ของประเทศสมาชิก EU ในประเทศไทย โดยในภาพรวม EU แสดงความห่วงกังวลต่อความรุนแรงทางการเมืองและต้องการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหารือกันเพื่อหาทางออกของปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี รวมทั้งสนับสนุนแผนปรองดอง 5 ข้อของ นรม. อภิสิทธิ์ฯ
ความร่วมมือระหว่างไทยกับ EU
• ปัจจุบัน ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับ EU อยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของคณะกรรมาธิการยุโรป  (Thailand – European Commission (EC) Strategy Paper) ฉบับปี 2007-2013 และ Multi-Annual Indicative Programme ฉบับปี 2011-2013 ซึ่งสะท้อนถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายที่พัฒนาจากความสัมพันธ์ดั้งเดิมในรูปแบบของผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือเป็นความสัมพันธ์ในเชิงหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (partnership for development) โดยฝ่าย EU ได้ปรับบทบาทของตนจากผู้ให้ความช่วยเหลือเป็นหุ้นส่วนในการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติ รวมทั้งการปรึกษาหารือด้านนโยบาย (Policy Dialogue) ในสาขาต่างๆ  ที่สำคัญ                   
 • ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ทั้งสองดังกล่าว ฝ่าย EU เน้นการดำเนินความร่วมมือกับไทยภายใต้กรอบงบประมาณ Thailand-EC Cooperation Facility (TEC) ซึ่งมีงบประมาณทั้งสิ้น 17 ล้านยูโร สำหรับการดำเนินงาน 7 ปี (ระหว่าง 2007 – 2013) ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือใน 4 สาขา ดังนี้ 1) สนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจการค้าของไทย           2) แลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การศึกษา และการวิจัย          3)  ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับการค้า            4) ส่งเสริมการหารือในด้านธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน การกำจัด ทุ่นระเบิด การโยกย้ายถิ่นฐานและอาชญากรรมข้ามชาติ   
•  ลักษณะการร่วมมือของกรอบงบประมาณ TEC: มี 2 รูปแบบคือ 1) EU ออกประกาศหัวข้อวิจัยให้หน่วยงานราชการและองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรของไทย เช่น สถาบันการศึกษาวิจัย สมัครเข้าร่วมโครงการความร่วมมือตามประกาศ  และ 2) EU ให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่หน่วยงานราชการของไทยที่จัดทำข้อเสนอโครงการความร่วมมือ (policy dialogue)  •  นอกจากความร่วมมือในกรอบทวิภาคีแล้ว ไทยและ EU ยังมีความร่วมมือในกรอบอื่นๆ อาทิ กรอบ 7th Framework for Research and Technological Development (FP 7) FP 7 เป็นแผนงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้าน R&D ระหว่าง EU กับประเทศที่สาม ในกรอบเวลา 7 ปี (2007-2013) โดยได้รับจัดสรรงบประมาณ 50,521 ล้านยูโร โดยแบ่งเป็น 4 กรอบกิจกรรมใหญ่ คือ          1) Cooperation 2) Ideas 3) People และ 4) Capacities และโครงการ Erasmus Mundus Programme (EMP) ซึ่ง EU ให้ทุนศึกษาวิจัยแก่บุคคลากรและสถาบันในภาคการศึกษาแก่ประเทศที่สาม รวมถึงประเทศไทย ไปศึกษาวิจัยในสถาบันการศึกษาของยุโรป ปัจจุบันโครงการทุนการศึกษา Erasmus Mundus อยู่ในระยะที่สอง (2009 - 2013)  
• การเจรจาจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือไทย – ประชาคมยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (Framework Agreement on Comprehensive Partnership and Cooperation between Thailand and the European Community and its Member States – PCA) เป็นความตกลงที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติของความสัมพันธ์ อาทิ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การค้าการลงทุน การศึกษาและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การต่อต้านยาเสพติด และการต่อต้านการฟอกเงิน เป็นต้น โดยได้มีการเจรจารอบล่าสุด (รอบที่ 8) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2009 ณ กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีการลงนามความตกลงดังกล่าวเนื่องจากเหลือประเด็นติดค้างบางประเด็น โดยหลังจากการเจรจารอบที่ 8 ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้บรรลุข้อตกลงและนำไปสู่การลงนามความตกลงได้ในอนาคต    
• การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (Thailand – EU Free Trade Area Agreement – FTA) เมื่อปี 2007 EU ได้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับอาเซียน และเมื่อปี 2009 ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศหยุดพักการเจรจาเนื่องจากการเจรจาที่ผ่านมาไม่มีความก้าวหน้า EU จึงหันมาปรับแนวทางการเจรจาความตกลง FTA เป็นระดับทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความพร้อม เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และไทย สำหรับไทยนั้น กระทรวงพาณิชย์ในฐานะหน่วยงานหลักของฝ่ายไทยอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนภายในตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาก่อนที่จะเริ่มการเจรจา FTA กับ EU




ความเป็นยอดมนุษย์

vadgo.jpg (12849 bytes)

วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama)

                การค้นหาเส้นทางเดินเรือจากยุโรปมายังเอเซีย เริ่มโดน ดีแอส และ ดีโอโก แคม แต่ภาระนี้ได้สำเร็จลงโดย วาสโก ดา กามา นักเดินเรือชาวโปรตุเกส
               วาสโก ดา กามา ได้ตั้งต้นจากลิสบอน และแล่นเรือไปยังหมู่เกาะเคปเวอร์ด โดยแล่นไปทางใต้อ้อมแหลมกู้ดโฮป ไปตามชายฝั่งตะวันออกไกลไปทางเหนือจนมาถึงมาลีนดี (คีนยา) เขาได้ข้ามมหาสมุทรอินเดีย   และในปีค.ศ. 1498 ก็ได้บรรลุ ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย   และในปี ค.ศ.1499 เขาก็เดินทางกลับโปรตุเกส และได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ เขาเดินทางไปอินเดียอีกสองครั้ง ในปี ค.ศ.1502 และค.ศ. 1524.
นักสำรวจ
  • วาสโก ดา กามา(Vasco da Gama)

  • วัสโกดากามาพิชิตแหลมกูดโฮป

    ยูนิคอร์นม้ามังกรเขาเดียว เป็นสัตว์ใหญ่โตป่าเถื่อนที่สุด  เรือสำเภาสามลำเรียงกัน  มันเอาเขาชนทีเดียวเรือทะลุหมด
    กะลาสีเห็นสัตว์ผีทะเลตัวนี้ก็ตกใจขวัญหนีดีฝ่อ  เห็นทะเลเป็นทุ่งหญ้าก็กระโจนลงไปหมายเอาตัวรอด...
    กลางมหาสมุทรยังมีสะดือทะเล  เป็นวังวนดูดเรือแพจมไปหมด  ถ้าไม่ใช่สะดือทะเล  ก็เป็นกระทะใหญ่  น้ำร้อนเดือดพล่านและบนฟ้าก็มีไฟแลบลงมาเผาเรือแพเป็นจุลไปเหมือนกัน
    เรื่องอันน่ากลัวนี้  วัสโกดากามาได้ยินคนบอกกล่าวมาแล้ว  แต่วันหนึ่งเป็นวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๔๙๗ วัสโกดากามาพร้อมด้วยเรือสำเภา ๔ ลำ กะลาสี ๑๑๘ คนก็เตรียมพร้อมที่จะออกจากประเทศปอร์ตุเกส  เพื่อหาทางเดินเรือไปประเทศอินเดีย
    นายเรือผู้ใหญ่ยิ่งเต็มไปด้วยหนวดเคราผู้นี้ เวลานั้นยังอยู่ในวัยฉกรรจ์อายุได้สามสิบปีพอดี ๆ   รู้จักภัยอันตรายในมหาสมุทรเป็นอย่างดี   รู้ว่าภัยอันเกิดจากธรรมชาตินั้นอาจร้ายแรงยิ่งกว่าเรื่องในนิยายปรัมปรานั้นอีก
    เมื่อวัสโกดากามา ยก กองทัพเรือ  ของเขาแล่นไปตามฝั่งอัฟริกาตะวันตก  ตรงไปทางทิศใต้นั้น  เขารู้ว่าอันตรายที่แท้จริงของชีวิตกำลังรอเขาอยู่ที่แหลมกูดโฮป  วาสโกดากามาแปลกใจว่าทำไมเขาจึงตั้งชื่อนี้ให้แก่แหลมที่อยู่สุดอัฟริกาใต้
    สองสามอาทิตย์ก่อนที่ดากามาจะออกเดินทางนั้น   พระเจ้ามานูแอล  กษัตริย์แห่งปอร์ตุเกสมีพระราชบัญชาให้ดากามาหาทางเดินเรือไปประเทศอินเดีย  คนทั้งสองได้พูดจากันถึงการอ้อมแหลมอัฟริกาใต้ว่ามีอันตรายมาก  ไม่เคยมีเรือลำใดรอดไปได้  ดากามาได้เรียกชื่อแหลมตรงนั้นว่าแหลมพายุ  พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงฟังดังนั้นก็ไม่พอพระทัย  รับสั่งอย่างเย็นชาว่า  ฉันไม่อยากฟังชื่อเช่นนี้,  อย่าพูดอีกเลย  เราต้องปลุกใจกะลาสีให้กล้าหาญ  ให้มีความหวัง  ตั้งแต่นี้ต่อไปถ้าจะพูดกันถึงที่ตรงนี้ก็ให้เรียกว่าแหลมกูดโฮป
    วัสโกดามากาก็คุกเข่าลงขอพระราชทานอภัยโทษ  แล้วกราบบังคมทูลว่า  ข้าพเจ้าจะอ้อมแหลม สมหวัง (กูดโฮป) ไปจนถึงประเทศอินเดียหรือยอมตาย
    ดากามาได้ออกเดินทางด้วยใจร้อนรน  จะไปให้ถึงทิศใต้สุดของทวีปอัฟริกาให้เร็วที่สุด  การเดินทางตั้งต้นจากแหลมแวร์แดไอแลนด์   แต่แทนที่จะเรียบฝั่งก็ตัดทางตรงไป  ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคมถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ไม่ได้เห็นฝั่งเลย  การอยู่กลางมหาสมุทรเช่นนี้ นานวันโรคขาดวิตามินก็เข้ามารุกราน  ทำให้กะลาสีเจ็บป่วยเป็นโรคมือเท้าบวม  เหงือกบวม  จนกะลาสีโดยมากกินไม่ได้  เดินไม่ได้   และคนที่ป่วยก็ล้มตายกันไปหลายคน  แต่คนที่ยังไม่ตายก็เดินทางต่อไปด้วยน้ำใจอดทน
    เมื่อไปถึงน่านน้ำของแหลมปลายสุดอัฟริกาใต้นั้น  ท้องฟ้าเป็นสีดำมืด  และทันใดภูเขาคลื่นก็กลิ้งเข้าทุ่มเรือและประดังเข้ามาซ้อน ๆ กัน  จนเรือไม่สามารถจะกระโจนคลื่นได้  ภูเขาคลื่นซัดใบเรือปลิวไปหมด  กะลาสียืนไม่ติด  ต้องเอาเชือกล่ามตัวตัวกับหลัก  แต่หลักก็ปลิวไปด้วย
    ดากามาผู้เป็นนายเรือก็เสียทาง  บังคับเรือไม่ได้  แต่ก็ยังมีจิตใจไม่ลืมคำสัญญาที่ว่าไว้  ชนะหรือตาย  เมื่อต้นหนและลูกเรือขอร้องให้กลับบ้าน  ดากามาก็ร้องว่า  ทะเลมันอิจฉาเรา  ชื่อเสียงคอยเราอยู่ข้างหน้า  มันกลัวเราจะไปถึง  เราต้องไปให้ได้” 
    ถึงลมพายุจะพัดให้เรือถอยหลัง  กองทัพเรือ  ของดากามาก็พยายามตั้งหัวตรงทิศทางอยู่เรื่อยไป  ทะเลก็ทุ่มเรือแล้วทุ่มอีกจนลูกประสักหลุด  เรือรั่ว  เสบียงอาหารร่อยหรอ  วันแล้วคืนเล่าท้องฟ้ายังคงดำมืด  พายุพัดดังอื้ออึง  แสดงอาการว่ามันมีชัยแล้ว
    วัสโกดากามาเอาชีวิตของตัวเป็นเดิมพัน  และขณะที่กล่าวนี้เขาก็ยังไม่ตาย  เขาจะต้องต่อสู้กับมันอีก  เขาตั้งหัวเรือให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ  และพายุก็ไม่ผ่อนแรงเลย  มันพัดมาสุดกำลังเรื่อยไป  ทำให้เรือกระท้านอยู่ตลอดเวลา  ขณะนั้นรัศมีของดวงอาทิตย์พุ่งรอดเมฆดำลงมาช่องหนึ่ง  แล้วพายุก็บรรเทา  ทะเลค่อย ๆ ลดความดุเดือด  ภายในไม่ช้า  แหลมพายุ  ก็กลายเป็นแหลม  สมหวัง   กูดโฮปอย่างแท้จริง
    ดากามาและกะลาสีของเขามีชัยชนะเหมือนอัศจรรย์  ขณะนี้เขาแล่นอยู่ในน่านน้ำซึ่งไม่เคยมีเรือยุโรปได้ผ่านมาเลย  เขาแล่นต่อไป  ตรงไปยังประเทศอินเดีย  ได้ผ่านเกาะโมซัมบิก,  มอมบาซา,  มาลินดี  ไปถึงกัลกัตตาประเทศอินเดียวันที่  ๒๐  พฤษภาคม  ค.ศ. ๑๔๙๘ 
    วันนั้นจึงเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ คือ วันแรกที่ตะวันออกกับตะวันตกมาพบกันทางทะเล  สายการเดินสินค้าทางเรือก็เปิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา   ที่ประเทศอินเดีย วัสโกดากามาไม่ได้รับการต้อนรับอันดี   ผู้ปกครองเมืองกัลกัตตาบอกแก่วัสโกดากามาว่า  ท่านมาที่นี่ทำไม?  จงไปนรกเถิด
    แต่วัสโกดากามาก็ไม่ยอมให้เวลาที่ยังอยู่เสียไปเหมือนที่ได้เสียไปแล้วเป็นอันมากนั้นอีก  เขาซื้อสินค้าต่าง ๆ ลงบรรทุกเรือ  เป็นต้น  เครื่องประดับเพชรพลอย  เครื่องเทศ  เครื่องยา...
    และแล่นเรือกลับไปถึงกรุงลิสบอนวันที่ ๑๘ กันยายน ค.ศ. ๑๔๙๙   วัสโกดากามาผู้ไปหาความตายหรือไปหาชื่อเสียง  เมื่อเขาไม่ตาย เขาก็ได้ชื่อเสียง  และได้ชื่อเสียงอย่างมากมาย  ชื่อเสียงของเขาราคาแพงมาก กล่าวคือ  คนที่ไปกับเขาเป็นเวลาสองปีนั้น  ขากลับมาเหลือจำนวนครึ่งเดียว  อีกครึ่งหนึ่งได้แต่ชื่อ  ชีวิตหาไม่
    วาสโกดากามา กับอินเดีย
    ในขณะที่โคลัมบัสและคอบอตยังคงทำความพยายามที่จะมาถึงภาคตะวันออกให้ได้ด้วยการแล่นเรือตรงไป ทางตะวันตกอย่างเดียวนั้น กองเรือของปอร์ตุเกสในการนำของวาสโกดากามาก็ออกสำรวจเลียบฝั่งอาฟริกามุ่งลงทางทิศใต้ เมื่อ ค.ศ. 1497 เป็นเวลา 96 วัน กองเรือของเขาจึงมาถึงแหลมกูดโฮปของอาฟริกา ที่นั่งมีพายุพัดต้านทางเดินเรืออย่างแรง แต่วาสโกดากามาก็หาหนทางแล่นเรืออ้อมปลายแหลมนั้น ด้วยวิธีแล่นเป็นฟันปลาจนสามารถนำเรือไปสู่มหาสมุทรอินเดียที่มีคลื่นลมสงบได้ แต่เนื่องจากลูกเรือและเรืออยู่ในสภาพบอบช้ำ เสบียงอาหารก็มีน้อยลงเขาจึงแล่นเรืออ้อมขึ้นมาทางเหนือ แวะที่เมืองท่ามิลินดา ชั่วระยะหนึ่งแล้วจึงไปถึง เมืองโมแซมบิค ที่เมืองโมแซมบิค ได้ถูกกองเรือของสุลต่านแห่งพวกอาหรับยกมาโจมตี แต่ปืนเรือของวาสโกดากามาทำความตกใจให้แก่ข้าศึกจนล่าถอยไป เมื่อออกมาจากเมือง ก็แล่นเรือไปทางตะวันออกเป็นเวลา 10 เดือน 14 วันก็ถึงเมืองท่ากาลิกัต ของอินเดียเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1408 ได้หนทางกว่า 10,000 ไมล์ เป็นการเดินเรือที่ยาวที่สุดในสมัยนั้น หลังจากซื้อสินค้าต่าง ๆ จำพวกเครื่องเทศ ไหม และทองกับเงินได้เพียงพอแล้ว กองเรือของวาสโกดากามาก็กลับถึงลิสบอนนครหลวงของปอร์ตุเกสโดยปลอดภัย วาสโกดากามาจึงได้รับเกียรติเป็นบุคคลแรดที่พบความสำเร็จในการเดินเรือมาสู่อินเดีย