วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555


     รางวัลซีไรต์ 
ซีไรต์ หรือชื่อเดิมในภาษาไทยคือ "รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง
อาเซียน(S.E.A.WRITE AWARD) ซึ่งย่อมาจากคำว่า The South East Writer Award เส้นทางซีไรต์ จุดเริ่มต้นของรางวัลซีไรต์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 จัดโดยโรงแรมโอเรียลเต็ล การบินไทย และบริษัทในเครืออิตัลไทยโดยมีศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็น
ประธาน และได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยและสมาคมภาษาและ หนังสือ
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

                    1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศ
อาเซียน
                    2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่ง
กลุ่ม ประเทศอาเซียน
                    3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะทางวรรณกรรมของนัก
เขียนผู้ สร้างสรรค์
                    4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไป
ในกลุ่มประ เทศอาเซียน

                    ประเทศที่เข้าร่วมตอนแรกมีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ และไทย จนกระทั้ง พ.ศ.2529 เพิ่มประเทศบรูไนเข้ามาเป็น 6 ประเทศ
จากนั้นในปี 2539 ประเทศเวียดนามก็เข้าร่วม รวมเป็น 7 ประเทศ จนมาถึงปี 2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ "20 ปีซีไรต์"ผู้จัดได้เชิญพม่าและลาวเข้าร่วมด้วย จึงครบทั้ง 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียน
(ขณะนั้น)ต่อมาปี 2542หลังจากประเทศกัมพูชาได้รับการรับรองเข้า เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ
อาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วม ด้วยก็เป็นอันว่าซีไรต์ปีนี้มี
ครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ส่วนคณะกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2522 ศาสตราจารย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นประธาน ภายหลังพระองค์ท่าน
สิ้นชีพตักษัย ในปี 2524 หม่อนเจ้างามจิตร บุรฉัตรผู้เป็นชายา ได้ ดำรงตำแหน่งประธานสืบแทน
จนถึงอนิจกรรม ในปี 2526 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระกนิษฐาพระองค์เจ้าเปรม
บุรฉัตร ทรงรับเป็นองค์ประธานสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2534 
             พ.ศ. 2535 - 2540 ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เป็นประธาน จากนั้นในปี 2541 ม.ล.
พีระพงศ์ เกษมศรี เข้ารับช่วงเพียงปีเดียวก็ลาออก และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เข้ารับตำแหน่งแทนในที่สุดรางวัลวรรณกรรม ซึ่งเป็นผลงานของผู้เขียนได้จัดส่งเข้าร่วม
ประกวดรางวัลซีไรต์ โดยมีคณะกรรมการในการคัดเลือกและตัดสินประกอบด้วยผู้แทนจาก
สมาคมภาษาและหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทยฯ ผู้แทนจากสมาคมนักเขียนฯ และผู้ทรงคุณ
วุฒิทางวรรณกรรม โดยมีกติกาดังนี้ คือ

                1. ต้องเป็นงานที่ริเริ่มของผู้เขียนเอง ไม่ใช่แปลมาจากผู้อื่น
                2. ต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชาติหรือภูมิภาคที่ผู้สร้างสรรค์มีภูมิลำเนา
                3. ต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสร้างสรรค์ในรูปแบบใดก็ได้อันหมายถึง นวนิยาย
บทละคร และกวีนิพนธ์
                4. ต้องเป็นงานที่ดีพร้อมในช่วงเวลา 5 ปี นับจากที่ทางการเลือกสรรเป็นเกณฑ์
                5. ผลงานเคยได้รับรางวัลใด ๆ ก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
                6. ผลงานจะเขียนเป็นภาษาใดก็ได้ที่ใช้ในขอบเขตประเทศตน
                7. ผู้สร้างสรรค์มีส่วนช่วยหรือช่วยพัฒนาวัฒธรรมและวรรณกรรมของประเทศตน
จากงานเขียน ของตน
                8. ผู้สร้างสรรค์จะมีเชื้อชาติศาสนา เพศใด ๆ ก็ได้ และยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงาน
เข้าประกวด 




ตะวันออกกลาง


            ใครๆ หลายคนมักสงสัยว่า ตะวันออกกลาง คือที่ไหน อยู่ตรงไหนบนแผนที่โลก ทำไมเราถึงได้ยินชื่อนี้ในข่าวทางโทรทัศน์หรือหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ  และมีความสำคัญอย่างไร แล้วทำไมถึงเรียกว่า ตะวันออกกลาง
            ตะวันออกกลาง คือ ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขว้างตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกา ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน หรือที่เรียกว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) และบริเวณคาบสมุทรอาระเบีย รวมถึงดินแดนรอบอ่าวเปอร์เซีย อย่างไรก็ตามเรื่องอาณาเขตที่แน่นอน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบัน
            ภูมิภาคนี้เดิมถูกเรียกว่า ตะวันออกใกล้  หรือ Near East จากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนแรกที่พบก่อนในการเดินทางไปยังตะวันออก 
            ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกว่า ตะวันออกกลาง หรือ Middle East เป็นครั้งแรกโดยนักยุทธศาสตร์ทหารเรือชาวอเมริกัน ชื่อ Captain Alfred Thayer Mahan ซึ่งเขียนลงในบทความ The Persian Gulf and International Relations โดยMahan มองว่าการเรียกดินแดนนี้ว่า Near East ไม่ครบถ้วนเพราะไม่ครอบคลุมดินแดนทั้งหมดและยังเป็นมุมมองที่ยึดติดกับความเป็นยุโรปและประเทศตะวันตก (Eurocentric) มากเกินไป การใช้คำว่า Middle East มีความเหมาะสมมากกว่า ประกอบกับเป็นดินแดนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสองอารยธรรมและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสามทวีปอีกด้วย
            ความสำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นมีอยู่หลายมิติ ในด้านการเมือง ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็นที่ต้องการของจักรวรรดิและมหาอำนาจ และยังเป็นทั้งชนวนและสนามรบของสงครามและความขัดแย้งที่สำคัญหลายครั้ง เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 และ 2 และความขัดแย้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่ยังยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน
            ในมิติด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคตะวันออกกลางมีความโดดเด่นทั้งที่ตั้งที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญในการเดินทางติดต่อค้าขายระหว่างตะวันตกกับตะวันออก และที่สำคัญเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า คือ น้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นและสำคัญในระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
            ในมิติด้านสังคม ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สำคัญ คือ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทิส หรืออารยธรรมเมโสโปเตเมีย และยังเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลก คือ ศาสนาคริสต์ อิสลามและยูดาย  นอกจากนี้ชาวตะวันออกกลางส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ หากไม่นับรวมชาวเปอร์เซียจากอิหร่าน ชาวเติร์กจากตุรกีและชาวยิวในอิสราเอล
            กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้โดยตั้งขึ้นเป็นกองตะวันออกกลาง ภายใต้การดูแลของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งแบ่งภูมิภาคตะวันออกกลางโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ผสมกับความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์และประเด็นปัญหาต่างๆ โดยดูแลประเทศ กาตาร์ คูเวต จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ตูนิเซีย บาห์เรน มอริเตเนีย โมร็อกโก เยเมน ลิเบีย เลบานอน อิรัก อิหร่าน อิสราเอล อียิปต์ แอลจีเรีย โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  และปาเลสไตน์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น