วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555


GMT

               การเปลี่ยนเวลา ประเทศอังกฤษมีการหมุนเข็มนาฬิกาปรับไปปรับมาอยู่ 2 ครั้งในรอบหนึ่งปี เพื่อถือเป็นการชดเชยกับสภาพเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกในแต่ละช่วงฤดูกาล ช่วงย่างเข้าฤดูร้อน (British Summer Time, BST) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกช้าลงไปในแต่ละวัน(บางวันกว่าจะตกก็เป็นเวลากว่า 3 ทุ่ม) ในเช้ามืดของวันอาทิตย์หนึ่งของเดือนมีนาคม (เที่ยงคืนของวันเสาร์) รัฐบาลจะประกาศให้ทุกคนปรับหมุนเข็มนาฬิกาของตนไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง และให้ใช้เวลาดังกล่าวเรื่อยไปจนถึงวันอาทิตย์หนึ่งในช่วงเดือนตุลาคม(เที่ยงคืนวันเสาร์) ที่พระอาทิตย์เริ่มตกเร็วขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง จึงประกาศให้ทุกคนหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับมา 1 ชั่วโมง ให้มาอยู่ที่เดิม เช่น ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2552 เรื่อยมาจนถึงต้นเดือนมีนาคม 2553 เวลาอังกฤษจะช้ากว่าเวลาในไทยอยู่ 7 ชั่วโมง (อังกฤษเก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสี่โมง)แต่ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ไปจนถึง 31 ตุลาคม ที่มีการปรับหมุนเข็มนาฬิกาไปข้างหน้า 1 ชั่วโมง จะทำให้เวลาในอังกฤษช้ากว่าเวลาไทยเพียง 6 ชั่วโมง (อังกฤษก้าโมงเช้าเป็นเวลาไทยบ่ายสามโมง)


ละติจูด (Latitude)

หรือ เส้นรุ้ง เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก ซึ่งระบุว่าตำแหน่งนั้นอยู่ตรงจุดที่ทำมุมเท่าไรกับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ละติจูด มีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตรไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (เป็น 90 องศาเหนือหรือใต้ วัดเป็นมุมจากเส้นศูนย์สูตรที่จนถึงแนวดิ่งที่ขั้วโลกเหนือ หรือลงไปจนดิ่งที่ขั้วโลกใต้) พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพภูมิอากาศ (Climate) และกาลอากาศ (weather) ต่างกัน เช่น แบ่งเป็นเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว


ลองติจูด (Longitude) 
หรือ เส้นแวง เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออก หรือตะวันตกจากเส้นสมมุติในแนวเหนือใต้ที่เรียกว่า เส้นไพรม์เมอริเดียน (Prime Meridian) ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นไพรม์เมอริเดียนไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก -180 องศา

ลองติจูดแตกต่างจากละติจูดตรงที่ 
ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ แต่ลองติจูดไม่มี จึงต้องกำหนดเส้นสมมุติขึ้นมาอีกเส้นหนึ่งสำหรับอ้างอิง ในการประชุมเมอริเดียนนานาชาติ เมื่อ ค.ศ. 1884 จึงได้กำหนดให้เส้นเวลาที่กรีนิซที่ผ่านหมู่บ้านที่เดียวกันใกล้ๆกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นเส้นไพรม์เมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น